ผู้เขียน นายนิคม พวงรัตน์
ถาม การนั่งสมาธิ คืออะไร ทำไมต้องนั่งสมาธิ
ตอบ การนั่งสมาธิ คือการฝึกจิต ปกติจิต เป็นสิ่งที่ไม่อยู่นิ่งชอบเคลื่อนไหวตลอดเวลา ต้องการให้จิต อยู่นิ่ง ๆ เลยต้องฝึกจิต
โดยการนั่งขัดสมาธิ แล้วนึกคำภาวนาในใจ เช่น "พุทโธ" หายใจเข้า ว่า "พุท" หายใจออกว่า "โธ"ทำดังนี้เรื่อยไป จนกว่าจิตจะนิ่ง
บางคนจิตนิ่งหรือจิตรวมเป็นสมาธิเร็ว บางคนก็รวม ช้าๆๆๆๆๆ เพราะอะไรจะอธิบายภายหลัง ส่วนคำภาวนานั้น
บางสำนักอาจใช้คำภาวนาอื่น เช่น "สัมมา อรหัง" "ยุบหนอ พองหนอ" เป็นต้น แต่จุดหมายปลายทางอันเดียวกันคือต้องการ
ให้จิตรวมลงเป็นสมาธิ นั่นเอง
จิต คืออะไร ต่างจากใจหรือไม่
จิต คือ ใจ ใจก็คือจิต จิตอันไหนใจก็อันนั้น คำว่าใจ ไม่ใช่ดวงหทัย หรือหัวใจ ซึ่งคืออวัยวะสูบฉีดโลหิต แต่ใจหรือจิตในที่นี้คือ
ผู้รู้ ผู้ไม่ตาย กล่าวคือ คน ๆ หนึ่ง จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1.ร่างกาย (body) คือ ธาตุทั้ง สี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ มารวมกันจากการผสมกันของอสุจิ ของบิดา กับไข่ ของมารดา เกิดเป็นไซโกต(Embryogenesis) หรือตัวอ่อน(ไม่มีวิญญาณครอง)
2. จิตหรือใจ (mind) คือ ส่วนที่ เป็นวิญญาณ ที่เข้ามาครองร่างกายในข้อ 1 (จะอธิบายอีกทีกว่าเข้าครองอย่างไร) ตามบุญกรรมของตนเองซึ่งข้อนี้จะอ้างถึง
กัมมะพันธุ ผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ุ
กัมมะโยนิ ผู้มีกรรมเป็นแดนเกิด
กัมมะมัสสะโกมหิ ผู้มีกรรมเป็นของตนเอง
กัมมะปฏิสะระณะ ผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กัมมะทายาโท ผู้มีกรรมเป็นทายาท
จิตหรือใจ มีหน้าที่ 3 อย่าง คือ
1. มีหน้าที่นึกคิด
2. มีหน้าที่ปรุงแต่ง
3. มีหน้าที่สะสม
1. หน้าที่ นึกคิด ก็อย่างที่เรานึกคิดทุกนาที ชั่วโมงทุกวัน นั่นแหละ คิดไปต่าง ๆ นานา ทั้งในอารมณ์ที่ชอบ ( อิฏฐารมณ์) และอารมณ์ที่ไม่ชอบ (อนิษฐารมณ์)
2.หน้าที่ปรุงแต่ง เช่น ตาเห็นรูป จิตก็ปรุงแต่งว่า สวย ไม่สวย ขี้เหร่ น่ารัก น่าเกลียด เป็นต้น หูได้ยินเสียง ก็ปรุงแต่งว่า เพราะ ไม่เพราะ หนวกหู รื่นหูฯลฯ
3. หน้าที่สะสม "ข้อนี้แหละที่ทำให้ต้องมีกรรมติดตัว" กล่าว คือ ไม่ว่าเราจะทำอะไร ทั้งดี และชั่ว จิตก็จะ สะสม (memory)ไว้อย่างติดแน่น ทันที ยกตัวอย่างเช่น
ไปทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศนา ใหทานข้าวของ เงินทอง นั่งสมาธิ ฯลฯ จิตก็จะสะสมไว้ ในทางกลับกัน ไปเล่นการพนัน หรือไปฉกฉวยเอาของคนอื่นทั้ง ๆ ที่เจ้าของ
ไม่เห็น ไม่รู้ แต่จิตของเรานี้แหละ สะสมไว้แล้ว ไปฆ่าคนตาย ตำรวจมาจับ ไปต่อสู้ในศาล ชนะคดี เพราะมีเงินถางออก หรืออะไรก็สุดแต่จะทำ ผลคือชนะ ไม่คิดคุก
แต่ดวงจิต ตัวเองบันทึกไว้แล้วอย่างติดแน่น
ดังนั้น เมื่อถึงเวลาที่ต้องไปคนเดียว ร่างกายแตกดับ ลง ดวงจิตจะไม่แตกดับด้วย จะล่องลอยหนี ไป ..... ไปไหน....ก็ไปตามสิ่งที่สะสมเอาไว้..
..อย่างไหนมากกว่าไปอย่างนั้นก่อน .บุญมากกว่าก็ไป สวรรค์ พรหม นิพพาน บาปมากกว่า ก็ไป นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน. เขาเรียกว่าไปตามกรรมที่ก่อสร้างไว้ ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เป็นไปตามอัตโนมัติ ลางคนบอกว่า ก็ช่างละ
เมื่อตายไปแล้ว จะไปรู้สึกรู้สาอะไร คำพูดนี้ผิดถนัดเลย ความเป็นจริงแล้ว จิตดวงที่ลอยออกจากร่างไปนั้น ยังคงทำหน้าที่ 3 อย่างเหมือนเดิม
จิตใคร ก็คือจิตใคร ความรู้สึกเดิม สัมผัส เย็นร้อน อ่อนแข็ง เหมือนเดิม แม้จิตนั้นจะไปอยู่ในร่างอื่นแล้วแม้ร่างที่ไปอยู่นั้น จะเป็นเทวดา พรหม หรือ สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย .. สรุปได้ว่า ที่เป็นเราอยู่ขณะนี้นั้น ดวงจิต
ที่ครองร่างอยู่นี้ ไม่ทราบว่าไปอยู่ร่างไหนมาเท่าไหร่แล้ว
นี้แหละคือคำตอบว่า ทำไมต้องทำสมาธิ ก็เพื่อให้จิตมีกำลัง ยิ่งมีกำลังกล้าเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสร้างบุญกุศลให้มาก จนสามารถถึง สวรรค์ พรหม หรือแม้กระทั่ง นิพพานได้
เมื่อถึงนิพพานล้วก็เรียกว่า พ้นโอฆะสงสาร พ้นจากทุกข์ที่เป็นอนันตทุกข์ ไม่กลับมาเกิดอีก เมื่อไม่เกิด ก็ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย อีก นั่นเอง
ติดตามตอนต่อไป เร็ว ๆ นี้