คุณครู.คอม
.









Online: 25 user(s)

ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ 2541





kunkroo radio

ตรวจสอบแทรคไปรษณีย์ไทย

domain register Admin Only

ทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต

ตรวจสอบไอพี(IP check for locate)

..
     


    :  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม
หมวด: บทความ
ปวดศีรษะจากความเครียด จนถึงดึงเส้นผมเพื่อบรรเทาปวด
13-12-2014 เข้าชมแล้ว: 9751
โรคปวดศีรษะจากความเครียด

เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ มักจะมีอาการปวดศีรษะต่อเนื่องนานเป็นวันๆ จนถึงเป็นสัปดาห์ หรือเป็นแรมเดือน โดยจะปวดพอรำคาญ หรือทำให้รู้สึกไม่สุขสบาย และจะปวดอย่างคงที่ ไม่แรงขึ้นกว่าวันแรกๆ ที่ปวด จัดว่าเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แต่จะเป็นๆ หาย ๆ เรื้อรัง
ชื่อภาษาไทย โรคปวดศีรษะจากความเครียด โรคปวดศีรษะแบบตึงเครียด
ชื่อภาษาอังกฤษ Tension-type headache (TTH), Tension headache, Muscle contraction headache, Psychogenic headache





สาเหตุ
อาการปวดศีรษะของผู้ป่วยโรคนี้เป็นผลมาจากมีการเกร็งตัว ตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและใบหน้าซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุและกลไกของการเกิดโรคอย่างแน่ชัด สันนิษฐานว่าเกิดจากมีสิ่งเร้ากระตุ้นที่กล้ามเนื้อและพังผืดบริเวณรอบกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทขึ้นตรงประสาทส่วนกลาง (อาจเป็นบางส่วนของไขสันหลัง หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ที่เลี้ยงบริเวณศีรษะและใบหน้า) แล้วส่งผลกลับมาที่กล้ามเนื้อรอบกะโหลกศีรษะ ทำให้เกิดการเกร็งตัว ตึงตัวของกล้ามเนื้อดังกล่าว รวมทั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมี (เช่น เอนดอร์ฟินซีโรโทนิน) ในเนื้อเยื่อดังกล่าว ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ

ส่วนใหญ่ มักพบว่ามีสาเหตุกระตุ้น ได้แก่ ความเครียด หิวข้าวหรือกินข้าวผิดเวลา อดนอน ตาล้าตาเพลีย(จากใช้สายตามากเกินไป)
นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีโรควิตกกังวลซึมเศร้า ความผิดปกติทางอารมณ์ หรือการปรับตัว บางครั้งอาจพบร่วมกับโรคปวดศีรษะไมเกรน



อาการ

ลักษณะเฉพาะของโรคนี้คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตื้อๆ หนักๆ ที่ขมับ หน้าผาก กลางศีรษะ หรือท้ายทอยทั้ง 2 ข้าง หรือทั่วศีรษะ หรือปวดรอบศีรษะคล้ายเข็มขัดรัด ต่อเนื่องกันนานครั้งละ 30 นาทีถึง 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มักจะปวดนานเกิน 24 ชั่วโมง บางคนอาจปวดนานติดต่อกันทุกวันเป็นสัปดาห์ๆ หรือเป็นแรมเดือนโดยที่อาการปวดจะเป็นอย่างคงที่ ไม่ปวดรุนแรงขึ้นจากวันแรกๆ ที่เริ่มเป็น ส่วนมากจะเป็นการปวดตื้อๆ หนักๆ พอรำคาญหรือรู้สึกไม่สุขสบาย ส่วนมากที่อาจปวดรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจวัตรประจำวัน

ผู้ป่วยจะไม่มีไข้ ไม่เป็นหวัด ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือตาพร่าตาลาย และไม่ปวดมากขึ้นเมื่อถูกแสง เสียง กลิ่น หรือมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย
อาการปวดศีรษะอาจเริ่มเป็นตั้งแต่หลังตื่นนอนหรือในช่วงเช้าๆ บางคนอาจเริ่มปวดตอนบ่ายๆ เย็นๆ หรือหลังจากได้คร่ำเคร่งกับงานมากหรือขณะหิวข้าว หรือมีเรื่องคิดมาก วิตกกังวล มีอารมณ์ซึมเศร้าหรือนอนไม่หลับ

การแยกโรค


อาการปวดศีรษะที่เป็นต่อเนื่องกันเป็นวันๆ ขึ้นไปควรแยกออกจากสาเหตุอื่น เช่น



1. ไมเกรน
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตุบๆ ที่ขมับข้างเดียว (ส่วนน้อยเป็นพร้อมกัน 2 ข้าง) คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า นาน 4-72 ชั่วโมง มันจะเป็นๆ หายๆ ทุกครั้งที่มีอาการกำเริบ มักจะเกิดจากสิ่งกระตุ้น เช่น แสง เสียง กลิ่น อดนอน อดข้าว อากาศร้อนหรือเย็นจัด อาหารบางชนิด เหล้า ผงชูรส โดยมากจะเริ่มเป็นตั้งแต่วัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะจากความเครียดร่วมด้วย

2. เนื้องอกสมอง
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดทั่วศีรษะ ปวดมากเวลาตื่นนอนตอนเช้า พอสายๆ ก็ทุเลาไป ไม่ปวดต่อเนื่องทั้งวันอาการดังกล่าว จะเป็นแรงขึ้นทุกวันจนผู้ป่วยต้องสะดุ้ง ตื่นตอนเช้ามืดเพราะรู้สึกปวด และจะปวดนานขึ้นทุกวันจนในที่สุดจะปวดตลอดเวลา ซึ่งกินยาแก้ปวดไม่ทุเลา ในระยะต่อมาอาจมีอาการอาเจียน เดินเซ เห็นภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรง ชัก ความจำเสื่อม บุคลิกภาพเปลี่ยนไปจากเดิม

3.โรคทางสมองอื่นๆ

เช่น เลือดออกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงและอาเจียน ตั้งแต่วันแรกๆ ที่ปวด บางคนอาจมีไข้สูง ซึม ชัก ร่วมด้วย

4.ต้อหินชนิดเฉียบพลัน
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตาและศีรษะข้างเดียวอย่างรุนแรงและฉับพลันทันที ตาพร่ามัว แสบตาข้างที่ปวดจะมีสิ่งรบกวน ตาแดงๆ ตรงบริเวณตาขาว (รอบๆ ตาดำ) อาการปวดจะเป็นต่อเนื่องเป็นวันๆ ซึ่งกินยาแก้ปวดก็ไม่ทุเลา

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้จากลักษณะอาการ และประวัติเกี่ยวกับความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ การคร่ำเคร่งกับงาน
นอกจากมีอาการไม่ชัดเจนและสงสัยเป็นโรคเกี่ยวกับสมอง จึงจะส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ผู้ป่วยและญาติจึงควรบอกเล่าประวัติ และอาการเจ็บป่วยอย่างละเอียด เช่น ปัญหาครอบครัว (สามีมีภรรยาน้อย เล่นการพนัน การทะเลาะกัน) ปัญหาการงาน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ถูกต้องและไม่หลงไปส่งตรวจพิเศษให้สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น


การดูแลตนเอง
เมื่อมีอาการปวดศีรษะเพียงเล็กน้อย ควรกินยาพาราเซตามอลบรรเทา 1-2 เม็ด นั่งพักนอนพัก ใช้นิ้วบีบนวด
ควรไปปรึกษาแพทย์ ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

. มีอาการปวดรุนแรง หรืออาเจียนรุนแรง
. มีอาการปวดมากตอนเช้ามืด จนสะดุ้งตื่น หรือปวดแรงขึ้นและนานขึ้นทุกวัน
. มีอาการเดินเซ แขนขาอ่อนแรง หรือชักกระตุก
. มีอาการตาพร่ามัว และตาแดงร่วมด้วย
. มีอาการปวดศีรษะหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
. ดูแลตนเอง 2-3 วันแล้วไม่ดีขึ้น
. มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะรักษาตนเอง



การรักษา
แพทย์จะให้การรักษาโดยให้ยาบรรเทาปวดร่วมกับยาคลายกล้ามเนื้อหรือยากล่อมประสาท

ถ้าพบว่ามีโรควิตกกังวลหรือซึมเศร้าร่วมด้วย ก็จะให้การรักษาภาวะเหล่านี้ไปพร้อมกัน และอาจให้การรักษาด้วยวิธีอื่นร่วมไปด้วย เช่น กายภาพบำบัด เทคนิคการผ่อนคลาย การทำจิตบำบัด การกระตุ้นประสาทด้วยไฟฟ้า การฝังเข็ม เป็นต้น

ในรายที่มีอาการกำเริบมากกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้งและแต่ละครั้งปวดนานมากกว่า 3-4 ชั่วโมง หรือปวดรุนแรง หรือต้องใช้ยาแก้ปวดบ่อยมาก แพทย์อาจให้ผู้ป่วยกินยาป้องกัน เช่น อะมิทริปไทลีน หรือฟลูออกซีทีนทุกวันติดต่อกันนาน 1-3 เดือน

ภาวะแทรกซ้อน
โรคนี้ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงแต่อย่างใด นอกจากทำให้วิตกกังวล ไม่สุขสบาย และอาจสิ้นเปลืองเงินทองและเวลาในการแสวงหาบริการ ซึ่งผู้ป่วยและญาติมักคิดว่าเป็นโรคร้ายแรง จึงย้ายรงพยาบาลที่รักษาไปเรื่อยๆ

การดำเนินโรค
อาการปวดแต่ละครั้งจะเป็นนานเป็นชั่วโมงๆ จนเป็นสัปดาห์ หรือแรมเดือน เมื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็มักจะทุเลาไปได้ แต่เมื่อขาดการรักษา และมีสิ่งกระตุ้นก็อาจกำเริบได้อีก จึงมักจะเป็นๆ หายๆ ได้บ่อย

การป้องกัน
ผู้ป่วยควรป้องกันไม่ให้กำเริบโดยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่าปล่อยให้หิว อย่าคร่ำเคร่งกับงานมากเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้สายตาจนเมื่อยล้า ออกกำลังเป็นประจำ หาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่างๆ ถ้าจำเป็นควรกินยาป้องกันตามที่แพทย์แนะนำ

ความชุก
โรคนี้พบได้บ่อย คือประมาณร้อยละ 80-90 ของผู้ที่ปวดศีรษะจะมีสาเหตุจากโรคนี้

พบได้ในคนทุกวัย เริ่มเป็นครั้งแรกตั้งแต่วัยรุ่น หรือวัยหนุ่มสาว (มีโอกาสน้อยมาก ที่จะมีอาการครั้งแรกหลังอายุ 50 ปีไปแล้ว) และพบมีอาการกำเริบบ่อยในช่วงอายุ 20-50 ปี
พบว่าผู้หญิงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายประมาณ 1.5-2 เท่า



*******************************************

ข้อมูลจาก นิตยสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 28 ฉบับที่ 336 เมษายน 2550 หน้า 28-31
------------------------------------------------------------------------

ยารักษา

ยา Fluoxitine หาซื้อเองได้ร้านขายยาใหญ่ๆ กินตามที่หมอสั่ง หรือ 1-3 เดือน

Fluoxetine
เป็นยาในกลุ่ม SSRIs -Selective Serotonin Reuptake Inhibitors มีฤทธิ์ในการรักษาโรคซึมเศร้าและอาการในกลุ่มโรควิตกกังวล

คุณสมบัติของการใช้ Fluoxetine
การออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า อาจเริ่มเห็นผลในสัปดาห์ที่สองหรือสาม
ขนาดยา : ชนิดเม็ดและแคปซูล ขนาด 20 mg.
ข้อบ่งใช้
" โรคซึมเศร้า ที่ขนาด 20-60 mg/day
" โรคย้ำคิดย้ำทำ ที่ขนาด 60-80 mg/day
" Premenstrual Dysphoric Disorder (อาการทางอารมณ์ที่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน) ที่ขนาด 20-60 mg/day
" GAD หรือ Anxiety Disorder อื่นๆ ที่ขนาด 20-60 mg/day
" ในกรณีผู้ป่วยสูงอายุ ควรเริ่มต้นให้ในขนาดครึ่งของที่แนะนำสำหรับแต่ละโรค
" ผู้ป่วยตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรงดการให้ยา

อาการข้างเคียงจากการใช้ยา Fluoxetine

1. ต่อระบบทางเดินอาหาร
ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน และท้องเสีย ซึ่งอาการจะแปรตามขนาดของยา และเกิดขึ้นชั่วคราวในช่วงสองถึงสามสัปดาห์แรก
2. ฤทธิ์กระตุ้น/ อาการนอนไม่หลับ
อาการที่อาจพบได้ในกลุ่มอาการนี้ได้แก่ อาการกระสับกระส่าย กระวนกระวายใจ และการนอนที่ผิดปกติ แต่เป็นอาการที่จะค่อยๆ ดีขึ้นเองหลังจากให้ยาเป็นระยะเวลาหนึ่ง การเริ่มยาที่ขนาดต่ำจะช่วยลดอาการวิตกกังวลที่อาจเกิดขึ้น ส่วนอาการนอนไม่หลับอาจให้การรักษาตามอาการโดยการให้ยาในกลุ่ม Benzodiazepine เช่น Diazepam, Chlordiazepoxide, Lorazepam เป็นต้น
3.ทธิ์ข้างเคียงทางเพศ
ความต้องการทางเพศที่ลดลงและ Anorgasmia ได้ในทั้งชายและหญิง ในเพศชายอาจพบ erectile dysfunction หรือ Ejaculatory dysfunction หากพบอาการเหล่านี้ ให้ตรวจหาสาเหตุอื่นที่อาจเป็นไปได้ หากพบว่าเกิดจากยาและผู้ป่วยได้รับผลกระทบมาก ให้ส่งพบจิตแพทย์


4. ฤทธิ์ข้างเคียงต่อระบบประสาท

ได้แก่ อาการปวดศีรษะทั้งแบบไมเกรนและ Tension เป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราวเฉพาะช่วง หนึ่งถึงสองสัปดาห์แรกแล้วอาการจะดีขึ้นเอง อาการอื่นได้แก่อาการของ Extrapyramidal Reaction เช่น Akathisia, Dystonia, Parkinsonism, และ Tardive Dyskinesia ซึ่งพบได้บ่อยขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ป่วย Parkinson
5. ฤทธิ์ต่อน้ำหนักตัว
อาจมีน้ำหนักลดในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นน้ำหนักจะกลับขึ้นเป็นปกติ
6. Serotonin Syndrome
เกิดได้แต่พบน้อย มีอาการ ปวดท้อง ท้องเสีย Flushing เหงื่อออกมาก อุณหภูมิกายขึ้นสูง อ่อนเพลีย ภาวการณ์รู้ตัวที่เปลี่ยนแปลงไป อาการสั่น กล้ามเนื้อกระตุก Rhapdomyolysis ไตวาย Cardiovascular Shock และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ให้หยุดยา และรักษาตามอาการ (Symptomstic Treatment)
7. Apathy Syndrome
การมีอารมณ์ราบเรียบ ไม่ยินดียินร้าย แต่ไม่ใช่อาการซึมเศร้า อาจพบอาการอ่อนแรงได้ รักษาโดยการลดขนาดยาลง หรืออาจเปลี่ยนมื้อยาเป็นมื้อก่อนนอนเพื่อลดอาการช่วงกลางวัน





หมวด: บทความ
»การทำทาน
23-02-2018
»การพิจารณาเวทนาในเวทนาในชีวิตประจำวัน
23-02-2018
»เมื่อมีศีลดี
23-02-2018
»คำอวยพรส่งมาทางไลน์
23-02-2018
»สาระจากการบิณฑบาต และการใส่บาตร
06-04-2016
»เราเคยฟังแต่ไม่รู้จักชื่อ เพลงพม่าประเทศ
03-04-2016
»ตัดสินคดีโกงในสมัยโบราณ
31-03-2016
»ทำไมต้องเซลฟี้ (Selfie)
05-01-2015
»ยุคตัวกู ของกู
22-12-2014
»การลบ facebook ออกจากชีวิต
19-12-2014
»30 วิธีเจ๋ง แบบสบายๆ
21-10-2014
»ทำบุญด้วยถังเหลือง ไม่ใช่สังฆทาน
30-07-2014
»อันตราย! ใช้ ทิชชู ซับน้ำมันอาหาร เจอสารก่อมะเร็ง-โซดาไฟ
02-07-2014
»ม.ขอนแก่นทำได้ ก้าวแรกทำน้ำมันดิบจากใบอ้อย
14-06-2014
»เครื่องไฟฟ้าในบ้านกินไฟอย่างไรมาดูกัน
24-05-2014
»ฝนฟ้าคะนอง เล่นเน็ต โทรศัพท์ ระวังฟ้าผ่า
13-05-2014
»ชักนำต่างชาติเขาฮุบที่ทำกินชาวนา
25-03-2014
»สุดยอดข้อมูลประเทศไทยกับ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล
15-02-2014
»เรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
08-02-2014
»โรคใหม่จากการสูบบุหรี่
18-02-2014
»อะไรเอ่ย ลองทายดูซิ ก่อนอ่าน นะครับ
23-01-2014
»polar vortex คืออะไร
23-01-2014
»นักวิจัยชี้สารสกัดจากผลไม้ในอาหารเสริมได้ประโยชน์จริง
21-01-2014
»กินผักผลไม้วันละครึ่งกิโล ลดมะเร็ง50%
19-01-2014
»วันครู ปี 2557
19-01-2014
»เพาะถั่วงอกในขวดน้ำดื่ม(เก่า)
19-01-2014
»ทำได้อย่างนี้หนุ่มตลอดกาล
19-01-2014
»มะเร็ง ที่มากับอาหารจากกล่องโฟม
13-12-2014
»อ่านแล้วจึงรู้ว่า ที่รู้มานั้นยังรู้ไม่หมดจริง...
13-12-2014
»ไลฟ์สไตล์มรณะ ทั้ง 14 ประการ
13-12-2014
»กินผลไม้ก่อนอาหารรักษามะเร็งได้
13-12-2014
»คนไป ชุมนุมไล่รัฐบาลทรราช ทำตามรัฐธรรมนูญ
13-12-2014
»โรคไมเกรน
13-12-2014
»วีดิโอสาระเพื่อบ้านเมือง มันส์มาก
13-12-2014
»รถยนต์ติดแก๊สควรตรวจสอบอะไรบ้าง
13-12-2014
»แบคไฟร์ในรถยนต์ติดแก๊ส
13-12-2014
»นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ระวังโรค CVS
13-12-2014
»5 เคล็ดลับบอกลาโรคเบาหวาน
13-12-2014
»เรื่องถังเช่า (อีกที)
02-04-2016
»4 เป้าหมายช่วยให้เลิกสูบบุหรี่
13-12-2014
»ปวดศีรษะจากความเครียด จนถึงดึงเส้นผมเพื่อบรรเทาปวด
13-12-2014
»เก็บผลไม้ป่าต่างแดน บลูเบอร์รี่
13-12-2014
»กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 90 และมีฝนตกหนักบางแห่ง
13-12-2014
»ดูกันชัด ๆ หวู๋ติ๊บถล่ม ไทยวันนี้ พรุ่งนี้ และมะรืนนี้
01-10-2013
»น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ ในปี 2556
28-09-2013
»เขื่อนแม่วงก์
29-09-2013
»สรรพคุณ พริกไทย
29-09-2013
»เกลือบ่อดินอันตราย
16-09-2013
»ศึกษาเฉพาะกรณีธรรมกาย" โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
14-09-2013
»ถังเช่า (เพียงอยากให้รู้)
14-09-2013
»ถั่วงอก เรื่องน่ารู้
07-09-2013
»ข้าวพันธุ์ลืมผัว
07-09-2013
»กดจุดหายปวด บำบัดอาการปวดผู้ทำงานนั่งนานๆ
05-09-2013
»บุญเดือนเก้า ห่อข้าวประดับดิน
05-09-2013
»ดีปลี ยาพื้นบ้านไทย ที่ควรรู้จัก
04-09-2013
»ดิจิตอลทีวี คืออะไร
27-08-2013
»วันเดียว เที่ยว 3 ประเทศ ข้ามโขงสะพานไทยลาวแห่งที่ 3 ที่นครพนม
23-08-2013
»แม่น้ำโขง
11-08-2013
»ถนอมแบตเตอรี่สมาร์ทโฟน
10-08-2013
»แกรนด์ แคนยอน ฟ้าผ่าปีละหลายหมื่นครั้ง! อยู่ที่แจ้ง รู้เอาตัวรอด
30-07-2013
»หลวงพ่อชาตอบปัญหาการกินเจกับกินเนื้อ
17-07-2013
»วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา
17-07-2013
»โน๊ตบุ๊ค สะดวกแต่เสี่ยงโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ
04-07-2013
»มะตูมซาอุ
23-06-2013
»มะตูมซาอุ
23-06-2013
»ตกใจไหม ถ้าบอกว่า "น้ำตาลคือสารเสพติด"
24-02-2013
»ตำนานพระอินทร์ (พระอินทร์ในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์)
05-02-2015
»เรื่องจิต หรือ ใจ
19-01-2013
»วันครู
14-01-2013
»เซียงกง คืออะไร มาจากไหน
03-01-2013
»ทำบุญตักบาตรพระ อาจได้บาป เพราะอะไร เชิญทางนี้
03-01-2013
»ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่
03-01-2013
»กระดูกพรุนศัตรูผู้สูงวัย โดยเฉพาะผู้หญิงเสี่ยงมากที่สุด
03-01-2013
»การฉีดวัคซีนโรคคอตีบ
03-01-2013
»การสร้างบุญบารมี
03-01-2013
»ธรณีสูบ ตั้งแต่พุทธกาลมาจนถึงสมัยปัจจุบัน
03-01-2013
»ที่มาของการสวดภาณยักษ์
03-01-2013
»วันมาฆะบูชา
03-01-2013
»ประเมินตนเองบ้าง
03-01-2013
»ตำนานเทวเกษียรสมุทร มีคนอ้างว่าเป็นที่มาของเหล้า
03-01-2013
»แพทย์เตือนดื่มสนุกทุกข์ถนัด
03-01-2013
»สุดยอดอาหารเพื่อ "สุขภาพสมอง"
03-01-2013
»การใช้และบำรุงรักษาแบตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค
03-01-2013
»เนื่องจากคำทำนายของเด็กชายปลาบู่
03-01-2013
»มณีกัณฐชาดก ขอในสิ่งที่ไม่ควรขอ
03-01-2013
»เทคโนโลยียานพาหนะในยุคน้ำท่วม
03-01-2013
»จากบั้งไฟพญานาค ถึง พญานาค
03-01-2013
»เนื่องจากซองกฐิน
03-01-2013
»ปัญหาเรื่องไวรัส หน้าจอฟ้า ไอค่อนหายหมด
03-01-2013
»คลิปยูเอฟโอ ล่าสุดมีผู้อ้างว่าถ่ายได้
03-01-2013
»การกระตุ้นสมอง ทำให้เกิดความจำดี
02-04-2016
»เตือน พวงมาลัยดอกมะลิ ริมทางอันตรายสารพิษอื้อ!
03-01-2013
»พบสารไล่ยุงในต้นตีนเป็ด
03-01-2013
»ความเป็นมาการถวายผ้าอาบน้ำฝน
03-01-2013
»มักกะลีผล
03-01-2013
»ยอดภูเขาทอง วัดสระเกษ ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
10-01-2014
»แผนที่ธรรม
11-01-2013
»เทศนาจากหลวงปู่โต พรหมรังสี
03-01-2013
»วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
10-01-2013
»เกร็ดความรู้ในการรักษาศีล
03-01-2013
»5 ศุกร์ 5 เสาร์ 5 อาทิตย์ในเดือนกรกฎคม 2554
03-01-2013
»แมงมุม ที่มีพิษทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวสี่ชั่วโมง
03-01-2013
»ชาเขียวต้านโรค
03-01-2013
»แว่นกันแดดตอน ฝนตก มองเห็นชัด 90%
03-01-2013
»การนอนกลางวันช่วยลดความเครียด จึงลดความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
03-01-2013
»อารมณ์ดี แต่สมองไม่ค่อยจำ
03-01-2013
»จิตรกรกับเทพธิดา
03-01-2013
»โอกาสหรือวิกฤติที่ไทยยังไม่มี 3G
03-01-2013
»สำรวจพบ8อาชีพ มีเงินเดือนเกินแสน นักบินรายได้สูงสุด
03-01-2013
»ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรง
03-01-2013
»ชลอความเสื่อมของร่างกายทำอย่างไร ยีน มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร
03-01-2013
»เกิดอะไรขึ้นเมื่อมีแผ่นดินไหว
03-01-2013
»เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ควรทำอย่างไร
03-01-2013
»ตำนานพระพุทธรูปปางนาคปรก
02-04-2016
 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม


คุณครู.คอม ขอแสดงเจตนาว่าทุกข้อความใน เว็บไซต์นี้ให้คัดลอกได้
ไม่จำกัด เพื่อเป็นวิทยาทาน เพื่อการศึกษาเท่านั้น . .

email  [email protected]


kkwebv56   Copyright©2023 kunkroo.com
Development from SMEweb 1.5f By คุณครู.คอม