ความดันโลหิต สงสัยไหมว่าทำไมต้องมีตัวเลขสองค่า
ความดันโลหิต สงสัยไหมว่าทำไมต้องมีตัวเลขสองค่า
หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เคยรู้ว่าทำไมค่าความดันเลือดต้องมีสองค่า อยากรู้ไหมครับ
แพทย์เรียกความดันค่าที่มากกว่าว่า systolic และเรียกค่าที่ต่ำกว่าว่า diastolic การติดตามวัดความดันโลหิตค่าทั้งสองตัวมีความสำคัญ และน่าจะรู้ว่ามาได้ยังไง
ค่าความดัน systolic
เมื่อหัวใจเต้น จะมีการบีบตัวและดันเลือดออกมาจากหัวใจไปตามเส้นเลือดแดงทั่วร่างกาย แรงดันนี้ทำให้เกิดความดันในเส้นเลือดแดง ค่าความดันที่วัดได้นี้คือความความดัน systolic
ค่าปกติของความดัน systolic นี้ควรจะต่ำกว่า 120
ถ้าระดับที่วัดได้คือ 120-139 แปลว่าคุณเริ่มมีความเสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูง Prehypertension หรือเรียกอีกอย่างว่า borderline hypertension
ซึ่งแปลว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากขึ้น ความดัน systolic ทีสูงกว่า 140 ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูง
ค่าความดัน diastolic
ค่าความดัน diastolic หรือค่าความดันตัวล่าง แสดงถึงความดันในเส้นเลือดแดงในขณะที่หัวใจพักการบีบตัวแต่ละครั้ง
ค่าปกติควรจะต่ำกว่า 80
ค่าระหว่าง 80-89 แสดงว่าเริ่มมีความเสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูง
ค่าที่สูงกว่า 90 ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูง
วิธีการวัดความดันโลหิต
การวัดความดันโลหิตเป็นการตรวจที่ง่ายและไม่ต้องใช้เครื่องมือยุ่งยาก และไม่ต้องเจ็บตัว เพียงใช้เครื่องวัดความดันที่ต่อเข้ากับส่วนที่พันกับต้นแขน
โดยขณะตรวจแพทย์จะใช้เครื่องฟัง ตรวจฟังเสียงของเลือดที่เส้นเลือดแดง ความดันจะถูกบีบขึ้นไปทำให้ cuff แน่นขึ้นจนความดันสูงกว่าระดับความดันโลหิต systolic
และถูกปล่อยลงช้า ๆ เสียงแรกที่ได้ยินทางเครื่องฟัง คือระดับความดัน systolic จนกระทั่งเสียงหายไปนั่นคือระดับความดัน diastolic
ก็จะทำให้ได้ค่าความดันโลหิตที่วัดได้เช่น 120/80 หน่วยที่ใช้เรียกคือ มิลลิเมตรปรอท mm Hg.
ควรจะตรวจวัดความดันโลหิตบ่อยแค่ไหน
ถ้าความดันโลหิตปกติ คือน้อยกว่า 120/80 สามารถตรวจความดันอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสองปี หรือบ่อยกว่านั้นถ้าแพทย์แนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม
ถ้าความดันโลหิตอยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงจะเป็นความดันโลหิตสูง คือระดับความดัน systolic อยู่ระหว่างค่า 120-139 หรือ ความดัน diastolic อยู่ระหว่าง 80 to 89
ควรจะตรวจความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง หรือมากกว่าถ้าแพทย์แนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม
ถ้าความดันโลหิตสูงกว่า 140-90 ควรพบแพทย์เพื่อตรวจยืนยันว่าเป็นความดันโลหิตสูง และทำการรักษาตามความเหมาะสม
สามารถวัดความดันโลหิตเองที่บ้านได้หรือไม่
การติดตามตรวจความดันโลหิตเองที่บ้านเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ คน โดยเฉพาะคนที่มีความดันโลหิตสูง ซึ่งจะทำให้ติดตามให้การรักษาได้ดีขึ้น
อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มคนที่เรียกว่า "white coat hypertension." คือคนที่มีความกังวลเมื่อต้องมาพบแพทย์และจะทำให้มีความดันโลหิตสูงกว่าปกติทุกครั้งที่มาพบแพทย์
ลองเลือกหาซื้อเครื่องวัดความดันสำหรับใช้เองที่บ้าน ซึ่งในปัจจุบันจะมีเครื่องดิจิตอลซึ่งใช้ง่ายเพียงปุ่มเดียวก็สามารถอ่านความดันโลหิตได้ทันที
ที่สำคัญคือพยายามเลือกที่พันแขนให้มีขนาดพอเหมาะกับคุณ เพราะถ้าแขนของคุณใหญ่มากกว่าขนาดที่พันแขนจะทำให้ค่าที่วัดได้สูงเกินจริง
หมอหมีแนะนำเครื่องรุ่นที่พันต้นแขนเนื่องจากให้ความแม่นยำมากกว่า และเมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ควรนำเครื่องที่วัดที่บ้านมาวัดเปรียบเทียบกับเครื่องของทางโรงพยาบาลเพื่อให้แน่ใจว่ายังแม่นยำดีอยู่
ก่อนวัดความดันโลหิต ควรงดกาแฟ บุหรี่ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ประมาณ 30 นาที อาจจะใช้ท่านั่งให้สามารถวางเท้าทั้งสองข้างบนพื้น
วางแขนไว้กับโต๊ะ ให้ส่วนบนของแขนอยู่ระดับเดียวกับหัวใจ พยายามเลือกวัดความดันในเวลาเดียวกันทุกวัน เช่นเวลาเช้า หลังจากตื่น ๆ
ทำธุระส่วนตัวเรียบร้อย และอย่าลืมจดบันทึกความดันไว้ในสมุดเผื่อไว้สำหรับการพบแพทย์
ความดันโลหิตสูงไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติ การรักษาจึงไม่ได้รักษาอาการ แต่เป็นการรักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน ไม่ว่าจะเป็นหัวใจวาย เส้นเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคไต
ที่มา : https://www.facebook.com/notes/drcarebear-samitivej/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B1
%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%
E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%
B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%
80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2/160794507286955