เรื่อง น้ำมันบูด

ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะประสบปัญหาใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 ที่เติมไว้ครึ่งถังในรถยนต์ที่ใช้แก๊ส
LPG เป็นประจำ แต่ที่เติมน้ำมันเพราะเอาไว้สตาร์ทเครื่องเพื่ออุ่นหม้อต้มแก๊สก่อน พอได้ที่แล้วก็ตัดเข้าโหมดแก๊ส
เลย ดังนั้นน้ำมันที่เติมไว้ครึ่งถังนั้นจึงเก็บนานอย่างน้อย 2 เดือน เพราะผมไม่ค่อยได้ใช้รถบ่อยนัก ส่วนมากก็จะ
นั่งเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อยู่ที่บ้าน เนื่องจากเกษียณราฃการแล้ว ปัญหาที่พบคือ ตอนที่ติดเครื่องด้วยน้ำมัน
จะเหม็นกลิ่นน้ำมันมากผิดปกติ มีอาการแสบตามาก เครื่องยนต์ก็ไม่เรียบเหมือนเดิม ตอนแรกคิดว่าเป็นที่ระบบ
เครื่องยนต์ จึงลงมือจัดการรื้อระบบไอดีออกมาทำความสะอาด เช่นปีกผีเสื้อ ล้างมอเตอร์เดินเบา ทำความสะอาด
แอร์โฟร์ เป็นต้น ผลที่ได้คือยังไม่เป็นที่น่าพอใจ คือเครื่องเดินเรียบขึ้น แต่ยังมีกลิ่นเหม็นน้ำมันและแสบตา
เหมือนเดิม จึงเกิดเอะใจเรื่องเคยได้ยินคำว่า "น้ำมันบูด" ขึ้นมาจึงได้เข้าหาอาจารย์กู๋ ทันที ปรากฏว่ามีหลายท่า่น
ได้เขียนถึงน้ำมันบูดมากมาย บางท่านก็ค้านว่ามันจะบูดได้อย่างไร น้ำมันไม่ใช่แกง ไม่ใช่กะทิ ไปโน่น ในทัศนะ
ของผม ผมเห็นว่าคำว่าน้ำมันบูดเป็นภาษาช่าง ที่หมายถึงน้ำมันเสื่อมสภาพ หรืออาจล้อกับคำว่าเหล้าบูด
ผมเคยได้ยินบรรดาคอทองแดงถามกันกับหูว่า "เฮ้ย หลังรถไม่มีเหล้าบูด เหลือซักครึ่งเหรอ" นี่ขนาดเหล้าบูดยังมี
ทำไมน้ำมับูดจะมีไม่ได้ บังเอิญผมเป็นนักคอมพิวเตอร์เล่าเรียนมาทางนี้ ดังนี้นมาฟังนักเคมีพูดถึงเรื่องน้ำมันบูด
กันดีกว่านะครับ ว่ามันเป็นไปกันได้อย่างไร
ความเห็นส่วนตัวของนักเคมีที่ผลิต Gasohol ในโรงกลั่น
(1) Gasohol (E10) = น้ำมันเบนซินพื้นฐาน 90% + Ethanol 10% (C2H5OH or C2H6O)
(2) Gasoline-เบนซิน (MTBE 10%) = น้ำมันเบนซินพื้นฐาน 90% + MTBE 10% (C5H12O)
ปัญหาที่พบกับปั้มติ๊กคือการเกิด Gum (ยางเหนียว) ขึ้นแล้วไปเกาะกับกลไกการทำงานของปั้มติ๊กที่ว่า ซึ่ง Gum
นี้ปกติจะมี อยู่ในน้ำมันทั้งสองชนิดได้ไม่เกิน 4 mg/100mL ของน้ำมันเท่ากันทั้งใน Gasohol และ Gasoline
(ตรวจวัดก่อนออกจากโรงกลั่น ซึ่งปกติจะวัดจริงใน Gasoline แต่ทึกทักว่ามีเท่ากันกับน้ำมันเบนซินพื้นฐาน 90%
ใน Gasohol- หมายเหตุ: น้อยมากที่จะตรวจวัดค่าต่างๆ ใน Gasohol ส่วนใหญ่จะวัดในเบนซินพื้นฐานแล้วเอาไปเติม
Ethanol 10% )ค่านี้จะไม่คงที่ มันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เก็บ ความคงตัวต่อการออกซิไดซ์โดยออกซิเจน
และโอกาสสัมผัสออกซิเจนของน้ำมันนั้นๆ
และมีค่าอีกหนึ่งตัวเร่งที่จะทำให้เกิด Gum เพิ่มขึ้นขณะเก็บในถังน้ำมันก็คือ ค่า Oxidation Stability
(ค่าความคงตัวต่อการออกซิไดซ์โดยออกซิเจน) ซึ่งค่านี้ปกติจะต้องมีค่ามากกว่า 360 นาที ทั้งใน Gasohol และ Gasoline
(ตรวจวัดก่อนออกจากโรงกลั่น ซึ่งปกติจะวัดจริงใน Gasoline แต่ทึกทักว่ามีเท่ากันกับน้ำมันเบนซินพื้นฐาน 90% ใน Gasohol-
หมายเหตุ: น้อยมากที่จะตรวจวัดค่าต่างๆ ใน Gasohol ส่วนใหญ่จะวัดในเบนซินพื้นฐานแล้วเอาไปเติมEthanol 10% )
ค่านี้จะไม่คงที่ มันจะลดลงเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เก็บ ความคงตัวต่อการออกซิไดซ์โดยออกซิเจน
และโอกาสสัมผัสออกซิเจนของน้ำมันนั้นๆ
และมีอีกคุณสมบัติหนึ่งที่เป็นตัวเร่งทำให้เกิด Gum ที่แตกต่างกันของ Gasohol และ Gasoline คือ คุณสมบัติการอมน้ำ (H2O)
ที่แตกต่างกันของ Ethanol และ MTBE ซึ่งปกติ Ethanol จะอมน้ำได้มากกว่า MTBE ประมาณ 3 เท่า และน้ำที่มีออกซิเจน
เป็นองค์ประกอบนี้ก็เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ค่า Gum เพิ่มขึ้น Oxidation Stability ลดลง
ค่านี้จะไม่คงที่ มันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เก็บ และโอกาสสัมผัสความชื้นของน้ำมันนั้นๆ
และมีอีกคุณสมบัติหนึ่งที่เป็นตัวเร่งทำให้เกิด Gum ทั้งใน Gasohol และ Gasoline คือ โอกาสในการสัมผัสกับออกซิเจน
ยิ่งมีโอกาสสัมผัสมาก Gum ก็จะเพิ่มได้เร็วและมากขึ้น
และมีอีกคุณสมบัติหนึ่งที่เป็นตัวเร่งทำให้เกิด Gum ทั้งใน Gasohol และ Gasoline คือ การเก็บน้ำมันไว้นาน (เวลา)
ยิ่งเก็บนานทั้งในปั๊มและในถังน้ำมันรถ Gum ก็จะเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นผมขอสรุปสาเหตุหลักของปัญหาและแนวทางแก้ไขไว้ดังนี้นะครับ
(1) ปัญหาจากปริมาณ Gum (ยางเหนียว) จากโรงกลั่น: ถ้าอยากมั่นใจ 100% ก็ในเติม Gasoline เพราะมั่นใจได้ว่ามีไม่เกิน
4 mg/100mL ก่อนออกจากโรงกลั่นแน่ๆ ครับแต่ต้องแลกกับการจ่ายเงินที่เพิ่มขึ้น หากต้องการใช้ Gasohol
ให้เลือกใช้จากบริษัทที่มีการตรวจวัด QC ที่เข้มข้นหน่อยครับ เช่น ปตท Shell ESSO Caltex
(2) ปัญหาจากปริมาณ Gum (ยางเหนียว) ที่เพิ่มขึ้นในปั๊ม:ให้เลือกเติม Gasohol ที่ปั๊มที่มีการบริหารจัดการถังเก็บที่ดี
มีการตรวจวัดการรั่วซึ่มอยู่เสมอ และมี Turn over rate ของน้ำมันที่ปั้มสูงๆ จะได้ไม่มีการเก็บน้ำมันไว้นานเกินไป
วิธีการเลือกปั๊มแบบง่ายๆ ก็คือ ปั้มใหม่ คนเติมเยอะๆ
(4) ปัญหาจากปริมาณ Gum (ยางเหนียว) ที่เพิ่มขึ้นในถังน้ำมันรถยนต์: แก้ได้โดยหลีกเลี่ยงการเก็บน้ำมันไว้ในถัง
โดยไม่ได้ใช้เกินหนึ่งเดือน และหลีกเลี่ยงการปล่อยให้มีปริมาณน้ำมันในถังต่ำ (เพราะส่วนที่ไม่ใช่น้ำมันในถังก็คือ
อากาศและในอากาศจะมีออกซิเจนอยู่ 19-21 % และซิเจนนี่แหละคือตัวการที่ทำให้เกิด Gum)
(5) ค่า Oxidation Stabilty (ค่าความคงตัวต่อการออกซิไดซ์โดยออกซิเจน): ไม่ค่อยเป็นประเด็นใน Gasoline
จะมีแต่ใน Gasohol เพราะไม่มีการตรวจวัดจริงก่อนออกจากโรงกลั่น ถ้ากังวลกับเรื่องนี้กว่ามีทางเลือกเดียวคือ เติม Gasoline
(6) ปัญหาคุณสมบัติการอมน้ำ (H2O) ที่แตกต่างกันของ Ethanol และ MTBE: ให้เลือกเติม Gasohol
ที่ปั๊มที่มีการบริหารจัดการถังเก็บที่ดี มีการตรวจวัดการรั่วซึ่มอยู่เสมอ และมี Turn over rate ของน้ำมันที่ปั้มสูงๆ
จะได้ไม่มีการเก็บน้ำมันไว้นานเกินไปซึ่งเสี่ยงต่อการดูดความชื้น วิธีการเลือกปั๊มแบบง่ายๆ ก็คือ ปั้มใหม่ คนเติมเยอะๆ
และอาจจะเลือกปั๊มที่เป็นของบริษัทน้ำมันลงทุนและบริหารระบบเองโดยให้เจ้าของที่ดินเ
ป็นหุ้นส่วนและจัดการหน้าปั๊ม (สงเกตุป้ายบริษัทด้านในปั๊มว่าเป็นของเถ้าแก่หรือของบริษัทน้ำมัน)
(7) ปัญหาเรื่องเวลาเก็บน้ำมันในถังนานและปล่อยให้สัมผัสความชื้นในอากาศ: แก้ได้โดยหลีกเลี่ยงการเก็บน้ำมันไว้ในถัง
โดยไม่ได้ใช้เกินหนึ่งเดือน และหลีกเลี่ยงการปล่อยให้มีปริมาณน้ำมันในถังต่ำ
(เติมให้เต็มถังหรือเกือบเต็มถังตลอดเวลาหรือให้มากที่สุด)
ปัญหาที่พบในความเป็นจริงส่วนใหญ่คือมีการปลอมปนน้ำมันจากปั้มที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีการปนเปื้อน
จากระบบจ่ายน้ำมันของปั้มที่ชำรุดมากกว่าปัญหาของตัวรถ ซึ่งปัญหานี้มีอยู่ตลอดแม้กับน้ำมัน ULG95
แต่มักไม่ค่อยเป็นข่าว ต่างจาก Gasohol ซึ่งพอผู้ใช้เติมแล้วมีปัญหามักจะโทษตัวน้ำมันแต่ไม่ตรวจสอบปั้มที่ขายน้ำมัน
นายนิคม พวงรัตน์ ผู้เขียน
ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์พันทิปดอทคอม