
พระอานนท์เห็นเหตุการณ์
เมื่อพระนางมหาโคตมีและเจ้าหญิงศากิยานีไปถึงที่ประทับของพระศาสดาแล้ว พระนางมีพระละออง ธุลีพระบาทบวมพอง และการเสด็จทางไกลทั้งเดินด้วยพระบาทเองและพระนางไม่ได้เคยเสด็จแบบคน ธรรมดา จึงทำให้ธุลีจับตามพระวรกาย มีความหม่นหมองและอ่อนเพลีย พระนางได้ร้องไห้ ขอความ เป็นธรรมด้วย พระศาสดาอยู่ข้างนอกพระวิหาร พระอานนท์ได้มาพบเข้า ยืนอยู่ด้วยความเศร้าพระทัย เป็นอย่างยิ่ง จึงได้สอบถามว่า พวกนางร้องไห้ด้วยเหตุผลอันใด ทำไมต้องทรมานพระวรกาย พระนาง ปชาบดีโคตมีตอบว่า พวกเราร้องไห้เพราะทนความเจ็บปวดพระบาทไม่ได้ และพวกเราทรมานกายเพื่อ อยากให้เห็นใจสตรีเพศได้บวชเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา และพวกข้าพเจ้ามีจุดประสงค์อยาก ปฏิบัติพรหมจรรย์ เพราะพระศาสดาปฏิเสธในการอุปสมบทให้สตรีเพศทั้งหลาย

พระศาสดาปฏิเสธพระอานนท์
เมื่อพระอานนท์ได้ฟังเช่นนั้นก็เกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับอาสาจะขอร้องต่อ พระผู้มีพระ ภาคเจ้าและกล่าวว่า พระบุตรีแห่งวงศ์โคตมะจงรอก่อน ถ้าเรื่องเป็นอย่างที่กล่าวแล้ว อาตมาจะขอ วิงวอนให้ต่อพระศาสดา ทรงโปรดประทานอนุญาตได้บวชประพฤติพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกันกับบุรุษทั้งหลาย เมื่อพระอานนท์ได้รับปากดังกล่าวแล้วจึงรีบเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ และเมื่อ ถึงที่ประทับของพระพุทธองค์ก็ได้ทูลขอตามที่สัญญาไว้กับนางมหาปชาบดีโคตมี ได้กราบทูลพระพุทธ องค์ในเรื่องที่ได้กล่าวมา และขอร้องให้พระพุทธองค์ประทานอนุญาตให้ได้บวชเป็นภิกษุณี ในพระพุทธ ศาสนา พระพุทธองค์ได้ตอบปฏิเสธพระอานนท์ว่า อย่าเลยอานนท์ อย่าเลย อย่าขอสิ่งนี้กับเราเลย แต่พระอานนท์ก็ไม่สิ้นความพยายามต่อไป

พระอานนท์ยังไม่ลดละความพยายาม
พระอานนท์ยังไม่หมดความพยายามและท้อถอย ได้วิงวอนอีกเป็น ครั้งที่สอง สาม ด้วยคำวิงวอน อย่างเดียวกัน และทุกครั้งก็ถูกปฏิเสธอย่างเดียวกัน พระอานนท์ได้ดำริว่าพระพุทธองค์ไม่ประทาน อนุญาต เมื่อถูกทูลโดยตรง แต่บางทีพระพุทธองค์อาจจะทรงอนุญาตถ้าเราใช้วิธีอย่างอื่น ดังนั้น พระอานนท์จึงได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าหากว่าสตรีเพศหากได้สละ บ้านเรือน แล้วออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัย ของพระศาสดาอย่งเคร่งครัดแล้วจะ สามารถ บรรลุธรรมพิเศษ ทั้งตามลำดับแห่งอริยมรรค เพื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์และพระนิพพาน ได้หรือไม่ พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบพระอานนท์ว่า อานนท์ ถ้าสตรีเพศสละบ้านเรือนออกบวช ปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดแล้ว ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ถึงพระนิพพานในชาตินี้ได้เหมือนกัน

พระอานนท์ได้ใช้ความพยายามจนถึงที่สุด
เมื่อพระพุทธองค์ตอบเช่นนั้น พระอานนท์ได้กราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้นแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรด พิจารณาเถิด พระนางมหาปชาบดีโคตมีแห่งราชวงศ์โคตมะได้เป็นผู้มีพระคุณต่อพระผู้มีพระภาค เจ้า อย่างสูงสุดอันหาใดเปรียบไม่ได้ พระนางเป็นน้าสาวของพระผู้มีพระภาคเจ้าเอง และทรงเป็นมารดา เลี้ยงของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ได้ฝักใฝ่ทะนุถนอม พร้อมทั้งถวายน้ำนมแทนพุทธมารดาแด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้ามาตั้งแต่พุทธมารดาสิ้นพระชนม์ไป ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงโปรด ประทานอนุญาตเพื่อเห็นแก่นาง ให้ได้เป็นบรรพชิตประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัย ของพระผู้มี พระภาคเจ้าอย่างเดียวกับบุรุษ เพื่อบรรลุถึงพระธรรมอันพิเศษ ที่พระองค์ได้โปรดประทานแก่ชาวโลก ด้วยเถิด

ความพยายามของพระอานนท์ก็สำเร็จ
พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบพระอานนท์อีกว่า สตรีเพศเป็นเพศที่อ่อนแอ สั่นคลอนได้ง่าย ถ้าจะบวชต้อง มีกฏระเบียบที่เคร่งครัดมาก เรียกว่า ครุธรรม ซึ่งมี ๘ ประการด้วยกัน และปฏิบัติเป็นกฏที่เข้มงวดมาก คือ
ภิกษุณีที่บวชแล้ว จะนานเท่าใดก็ต้องให้ความเคารพแก่พระภิกษุผู้บวชแล้ว แม้เพียงวันเดียว
ต้องไม่อยู่อาศัยเพียงลำพังในสถานที่ที่ไม่มีภิกษุอยู่
ต้องรับฟังคำสั่งสอนของผู้ที่สงฆ์ได้มอบหมายหน้าที่ให้สั่งสอนทุกๆ ครึ่งเดือน
ต้อง ปาวารณาเปิดโอกาสให้สงฆ์ทั้งฝ่ายภิกษุและภิกษุณีว่ากล่าวตักเตือนชี้โทษได้ ในวันปาวารณาถ้ามี อาบัติโทษอันชั่ว จักต้องได้รับการพิจารณาโทษและออกจากอาบัติวินัยสงฆ์
ถ้ามีอาบัติโทษอันชั่วหยาบ จักต้องได้รับการพิจารณาโทษ และออกจากอาบัติในสงฆ์ทั้งสองฝ่ายคือ พระภิกษุและพระภิกษุณี
ก่อนจะบวชเป็นภิกษุณี ต้องอยู่ประพฤติปฏิบัติเป็นสิกขมานา เพื่อการทดลองเป็นเวลานานไม่น้อย กว่า 2 ปีแล้วจึงได้บวชในสำนักสงฆ์
ต้องไม่พูดคำหยาบคายอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ภิกษุสงฆ์
ต้อง ไม่ทำตนเป็นผู้ว่ากล่าวตักเตือนภิกษุสงฆ์ แต่จะต้องเป็นผู้รับฟังคำว่ากล่าวตักเตือนจากภิกษุสงฆ์ และปฏิบัติศีลของภิกษุณี ตั้งแต่ศีลปาณาขึ้นไปจนถึงศีล ๘ และต่อไปจนถึงศีล ๓๒๐ ในสิกขาบทของศีล ภิกษุณี
ศีล ๘ ประการ
ปาณาติปาตา เวระมนีสิกขาปะทังสมาทิยามิ
อทินนาทานา เวระมนี สิกขาปะทังสมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมนี สิกขาปะทังสมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมนี สิกขาปะทังสมาทิยามิ
สุราเมระยะ มัชชะปมาทัตถานา เวระมนี สิกขาปะทังสมาทิยามิ
วิกาละโภชนา เวระมนี สิกขาปะทังสมาทิยามิ
นัจจะคีตวา ทิตวิสูกทสสน มาคาคนธวิเลป นธารณ มณฑวิภูสนฏฐานา เวระมนี สิกขาปะทัง สมาทิ ยามิ
อุจจาสยนมหาสยนา เวระมนี สิกขาปะทังสมาทิยามิ
ถ้านางมหาปชาบดีโคตมีหากมีความเต็มพระทัยจะถือกฏอันเข้มงวด ๘ และศีล ๓๒๐ ประการอย่าง เคร่งครัดตลอดชีวิตแล้ว ก็ให้ถือว่านั้นละเป็นการบรรพชาอุปสมบทของพระนาง และก็ถือว่าเป็น ภิกษุณีโดยสมบูรณ์ถูกต้อง จะต้องมีศีล ๓๒๐ นี้ดังในพุทธกาลที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบันภิกษุณีไม่ได้ มีอีกแล้ว ยังเหลือแต่พระสงฆ์เท่านั้น

พระอานนท์ได้นำข่าวดีมาบอกแก่พระนางปชาบดีโคตมี
พระอานนท์ได้รับเอาพระพุทธานุญาตนั้น แล้วกลับออกมาแจ้งต่อพระนางปชาบดีโคตมี ตามที่พระ ศาสดาได้ตรัสทุกประการ พระนางปชาบดีโคตมีและเจ้าหญิงศากิยาต่างก็มีความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงได้กล่าวคำขอบใจพระอานนท์พร้อมทั้งกล่าวว่า พระอานนท์เปรียบเหมือนคนหนุ่มสาว รักการ แต่งกาย อาบน้ำชำระสระผมให้สะอาด แล้วยกพวงมาลัยอันประกอบด้วยดอกไม้มีสีสวยสด มีกลิ่นหอม ขึ้นด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง แล้ววางลงบนหัวของตนด้วยความระมัดระวังฉันใด ก็เหมือนข้าน้อยเองก็จะ เทิดทูน กฎระเบียบ ๘ ประการนั้นไว้เหนือหัว ไม่ประพฤติล่วงละเมิดจนตลอดชีวิตของข้าน้อยด้วย ความระมัดระวังฉันนั้น ดังนั้น จึงเกิดมีภิกษุณีในครั้งพุทธกาลต่อมา ศีลของภิกษุณีมี ๓๒๐ ข้อ

พระอานนท์เข้ากราบทูลเกี่ยวกับการอุปสมบทภิกษุณี
หลังจากได้รับการรับปากอย่างมั่นเหมาะจากพระนางมหาปชาบดีโคตมี และเหล่าเจ้าหญิงศากิยานีแล้ว พระอานนท์ได้กลับเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายความเคารพแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ ภาคเจ้า พระนางมหาปชาบดีโคตมีแห่งราชวงศ์โคตมะ และเหล่าเจ้าหญิงศากิยานีทรงยินดียอมรับเอา ครุธรรม ๘ ประการนั้น ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติให้แก่พระนางทั้งหลายอย่างเคร่งครัด พระมารดาเลี้ยงหรือน้าสาวของพระศาสดาได้เป็นภิกษุณีตามความประสงค์แล้ว พระผู้มีพระภาค เจ้าได้ตรัสว่า “ อานนท์! พระธรรมวินัยซึ่งสตรีเพศรับเอาไปประพฤติปฏิบัติร่วมอยู่ด้วย จักไม่ตั้งมั่น อยู่ยืนนาน เปรียบเหมือนตระกูลที่มีแต่ผู้หญิงเป็นจำนวนมาก มีผู้ชายน้อย จะไม่สามารถต้านทาน ผจญต่อโจรผู้ร้ายเบียดเบียนนี้ฉันใด พระธรรมวินัยที่สตรีรับเอาไปประพฤติปฏิบัติ ย่อมไม่ตั้งอยู่ นานฉันนั้น ”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้อุปสมบทด้วยการยอมรับครุธรรม นับว่าพระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็น พระภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เมื่อพระนางมหาปชาบดี โคตมีผนวชแล้ว ปฏิบัติรรมไม่นานก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ทั้งหมด ประชาราษฎรและเสมาอำมาตย์ได้พร้อมใจกับไปอัญเชิญ พระเจ้ามหานามะ โอรสของพระเจ้าอมิโตทะนะ ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ สืบต่อมาจากพระเจ้าศรีสุทโทธนะ ส่วนพระนางยโสธรา(พิมพา) ได้เสด็จออกผนวชเป็นภิกษุณีในระยะต่อมาและได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เช่นกัน
ปฐมสังคายนารับหน้าที่สำคัญ
ในกาลที่พระพุทธองค์ใกล้ปรินิพพาน พระอานนท์เถระมีความน้อยเนื้อต่ำใจที่ตนยังเป็นปุถุชนอยู่ อีกทั้งพระบรมศาสดาบรมครูก็จะ
เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในอีกไม่ช้า จึงหลีกออกไปยืนร้องไห้แต่เพียงผู้เดียวข้างนอก พระพุทธองค์รับสั่งให้ภิกษุไปเรียกเธอมาแล้ว
ตรัสเตือนให้เธอคลายทุกข์โทมนัสพร้อมทั้งตรัสพยากรณ์ว่า....
“อานนท์ เธอจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในวันทำปฐมสังคายนา”
ปฐมสังคายนารับหน้าที่สำคัญ
พระอานนท์เถระ ได้ปฏิบัติพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด มิได้ประมาทพลาดพลั้ง ได้ฟังพระธรรมเทศนาทั้งที่ทรงแสดงแก่ตนและผู้อื่น ทั้งที่แสดงต่อหน้าและลับหลัง อีกทั้งท่านเป็นผู้มีสติปัญญาทรงจำไว้ได้มาก จึงเป็นผู้ฉลาดในการแสดงธรรม พระบรมศาดาทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งปวง ถึง ๕ ประการ คือ เป็นพหูสูตร เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีคติ เป็นผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก ปฐมสังคายนารับหน้าที่สำคัญในกาลที่พระพุทธองค์ใกล้ ปรินิพพานพระอานนท์เถระมีความน้อยเนื้อต่ำใจที่ตนยังเป็นปุถุชนอยู่ อีกทั้งพระบรมศาสดาบรมครูก็จะเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในอีกไม่ช้า จึงหลีกออกไปยืนร้องไห้แต่เพียงผู้เดียวข้างนอก
พระองค์รับสั่งให้ภิกษุไปเรียกเธอเข้ามาแล้ว ตรัสเตือนให้เธอคลายทุกข์โทมนัสพร้อมทั้งตรัสพยากาณ์ว่า "อานนท์ เธอจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในวันทำปฐมสังคายนา" เมื่อพระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๓ เดือน รวมเวลาที่ท่านเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันอยุ่นานถึง ๔๒ ปี และท่านได้บรรลุอรหัตผลเมื่ออายุได้ ๘๐ ปี การที่ท่านได้บรรลุอรหัตผลช้ากว่าพระชาวกบิลพัสดุ์รูปอื่น ๆ โดยเฉพาะพระอดีตเจ้าชายศากยะที่ออกบวชพร้อมกันนั้นเป็นเพราะว่าท่านไม่มี เวลาปฏิบัติธรมมเนื่องจากต้องขวนขวายอยู่กับการอุปฏฐากพระพุทธเจ้า
ท่านได้บรรลุอรหัตผลก่อนมีการทำปฐมสังคายนา (สังคายนาครั้งที่ ๑ ) เพียงไม่กี่ชั่วโมง พระกัสสปเถระได้นัดประชุมพระอรหันต์ขีณาสพ จำนวน ๕๐๐ องค์ ซึ่งทั้ง ๔๙๙ องค์ล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้วิชา๓ บรรลุอภิญญา๖ แตกฉานในปฏิสัมภิทา๔ และเชี่ยวชาญด้านพระปริยัติธรรม มีพระอานนท์รูปเดียวที่เป็นพระอริยะชั้นโสดาบัน ซึ่งยังเข้าประชุมด้วยไม่ได้ เพราะคุณสมบัติยังไม่ครบถ้วน แต่ในการทำปฐมสังคายนานั้นจะขาดท่านก็ไม่ได้ เพราะท่านเป็นผู้เดียวที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาทุกกัณฑ์จากพระพุทธเจ้า ดังนั้นคณะสงฆ์ซึ่งมีพระกัสสปเถระเป็นประธาน จึงมีมติเลือกให้ท่านเป็น ๑ ในพระจำนวน ๕๐๐ รูป ที่จะเข้าร่วมทำปฐมสังคายนา แต่มีเงื่อนไขว่าท่านต้องเร่งบำเพ็ญเพียรให้ได้บรรลุอรหัตผลก่อนหลังจากได้ รับทราบมติของคณะสงฆ์แล้ว
พระอานนท์ก็เร่งบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก ด้วยการเจริญกายคตาสติ คือ ตั้งสติกำหนดอาการ ๓๒ ในร่างกาย รวมทั้งการเคลื่อนไหวอิริยาบทขณะเดินจงกลม แต่แล้วก็ไม่ได้บรรลุอรหัตผลหรือแม้แต่มรรคผลขั้นต่อไปใด ๆ เลย ทั้งนี้เป็นเพราะท่านปฏิบัติเคร่งเครียดเกินไปจนจิตฟุ้งซ่าน คืนจะบรรลุอรหัตผลนั้น ท่านคิดได้ว่าปฏิบัติไม่ถูกจึงคิดบำเพ็ญเพียรแต่พอเหมาะ จากนั้นจึงลงจากที่จงกลมเข้าที่พัก ท่านนั่งอยู่บนเตียงสักครู่หนึ่ง จึงเอนกายลงบนเตียงด้วยตั้งใจว่า จักนอนพักผ่อนสักครู่หนึ่ง
ในขณะที่เท้าพ้นจากพื้น ศีรษะกำลังจะถึงหมอน ระหว่างนี้เอง จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะคลายความยึดมั่นลง แล้วท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในระหว่างอิริยาบททั้ง ๔ คือ ไม่ได้อยู่ในอิริยาบทอย่างใดอย่างหนึ่งทั้ง ๔ อย่าง คือ อิริยาบทยืน นั่ง หรือนอน นับว่าท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แปลกกว่าพระเถระรูปอื่นๆ หลังจากท่านบรรลุอรหัตผลได้ไม่นานก็รุ่งเช้า เมื่อฉันภัตตาหารเช้าแล้ว ขณะที่พระสงฆ์ ๔๙๙ องค์ เข้าไปนั่งคอยท่านอยู่ที่ถ่ำสัตตลบรรณ ข้างภูเขาเวภาระ เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธนั้น ท่านก็ได้แสดงฤทธิ์ให้ปรากฏเพื่อประกาศให้คณะสงฆ์ได้ทราบว่าท่านได้บรรลุอรหัตผลแล้ว ด้วยการดำดินแล้วไปโผล่ขึ้นตรงอาสนะที่จัดเตรียมไว้ให้ท่านนั่ง จากนั้นการปฐุมสังคายนาได้เริ่มขึ้นได้ตอบปัญหาของพราหมณ์โมคคัลลานะ เป็นที่แน่นอนว่าท่านได้มีบทบาทอย่างมากมายในการช่วยพระพุทธเจ้าเผยแผร่พระพุทธศาสนาและรักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ ผลงานของท่านประมวลกล่าวไว้ดังนี้ ทรงจำธรรมไว้ได้มาก พระอานนท์เถระได้รับยกย่องว่าเป็นพหูสูต ทั้งนี้มิใช่เพียงเพราะได้ศึกษาธรรมมากเท่านั้น แต่ยังหมายถึงว่าท่านทรงจำธรรมไว้มากด้วย ครั้งหนึ่งโคปกโมคคัลลานพราหมณ์ได้เคยเข้าไปหาท่านซึ่งเป็นช่วงระยะหลังจาก ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วและได้ถามว่า
โคปกโมคคัลลนพราหมณ์ "ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข่าวว่าท่านเป็นพหูสูตทรงจำคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ได้หมด ท่านบอกได้ไหมว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ท่านจำนวนเท่าไร"
พระอานนท์เถระตอบว่า "พราหมณ์ อาตมาศึกษาธรรมจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ๘๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ที่เหลืออีก ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ศึกษาจากพระสาวกผู้ใหญ่ อาทิ พระธรรมบดีสารีบุตร....

ภาพวาดพระอานนท์สาธยายพระสูตรในการปฐมสังคายนา
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. เป็นผู้ทรงจำธรรมไว้ได้มาก พระอานนท์ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นพหูสูต เพราะท่านทูลขอพรจากพระพุทธเจ้าก่อน
เข้ารับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก มีข้อหนึ่งความว่า ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องในในที่ลับข้าพระองค์ ขอให้พระองค์ได้โปรดแสดง
ธรรมเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้เอาใจใส่ขวนขวายในการศึกษาและทรงจำเป็นอย่างดียิ่ง
2. เป็นผู้ช่วยระงับความแตกร้าวในพุทธจักร คราวที่พระชาวเมืองโกสัมพีเกิดทะเลาะวิวาทกันเป็นฝ่าย พระพุทธเจ้าทรงตักเตือนก็ไม่
สามารถคลายทิฏฐิมานะพระเหล่านั้นลงได้ พระองค์จึงเสด็จไปจำพรรษาในป่าปาลิเลยยกะ ต่อมาพระเหล่านั้นเกิดสำนึกผิดรู้สึก
ละอายใจ จึงเข้าไปหาพระอานนท์ พร้อมขอร้องให้ท่านพาไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลขอขมา พระอานน์ได้ทำตามจนสามารถระงับความแตกร้าวให้กลับคืนสภาวะปกติได้
3. เป็นผู้รับภาระในพระพุทธศาสนา ในคราวปฐมสังคายนา ท่านได้ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม โดยรวบรวมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงไว้มาจัดเป็นหมวดหมู่ จนปรากฏเป็น พระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก ให้เราได้ศึกษาจนกระทั่งทุกวันนี้
4. เป็นผู้สืบต่อพระศาสนา ท่านเป็นผู้มีศิษย์มาก ต่อมาศิษย์ของท่านได้มีบทบาทสำคัญในการทำสังคายนาครั้งที่ 2 คือ พระสัพพกามี
พระยสกากัณฑบุตร และพระเรวตะ เป็นต้น แสดงถึงความเป็นผู้มีอัธยาศัยไมตรีที่เพียบพร้อมดีงาม ทำให้มีผู้เคารพเลื่อมใสและแสดงตนเป็นศิษย์จำนวนมาก
--------------------
พระอานนท์เป็นพระภิกษุอุปัฏฐานของพระพุทธเจ้า ก่อนท่านรับตำแหน่งนี้ เคยมีพระภิกษุหลายรูปทำหน้าที่นี้มาก่อน แต่ท่านเหล่านั้นรับหน้าที่ดังกล่าวไม่นาน ก็กราบทูลลาพระพุทธเจ้าออกไป ผู้รับหน้าที่อุปัฏฐานพระพุทธเจ้าเป็นเวลานานที่สุด จนพระพุทธเจ้านิพพาน จึงได้แก่พระอานนท์
โดยความสัมพันธ์ทางพระญาติ พระอานนท์มีศักดิ์เป็นพระอนุชาหรือน้องชายของพระพุทธเจ้า เพราะบิดาของท่านเป็นน้องชายของบิดาของพระพุทธเจ้า นี่ว่าอย่างสามัญ
ตลอดเวลาที่รับหน้าที่อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า พระอานนท์ตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปทุกหนทุกแห่ง คอยปรนนิบัติอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามิได้บกพร่อง ด้วยเหตุดังกล่าวท่านจึงไม่มีเวลาบำเพ็ญกิจส่วนตัว พรรคพวกรุ่นเดียวกันที่ออกบวชพร้อมกัน (ยกเว้นพระเทวทัต) ต่างได้สำเร็จอรหันต์กันทั้งสิ้น ส่วนพระอานนท์ได้สำเร็จมรรคผลเพียงชั้นโสดาเท่านั้น