คุณครู.คอม
.









Online: 27 user(s)

ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ 2541





kunkroo radio

ตรวจสอบแทรคไปรษณีย์ไทย

domain register Admin Only

ทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต

ตรวจสอบไอพี(IP check for locate)

..
     


    :  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม
หมวด: คุณภาพชีวิต
มาตราการแก้ลำ ชักดาบเงิน กยศ. ไม่จ่าย ยึดทรัพย์ ฯลฯ
23-02-2015 เข้าชมแล้ว: 6789
ตกเป็นข่าวอย่างต่อเนื่อง กรณีผู้กู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จำนวนมากค้างชำระหนี้คืน ล่าสุด
คลอดมาตรการกำหราบลูกหนี้กลุ่มจงใจหลบเลี่ยง อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด
เดือนร้อนถึงผู้ปกครองผู้ค้ำประกันแบบเลี่ยงไม่ได้


      
        มุจลินทร์ กำชัย รองผู้จัดการ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยความร่วมมือระหว่าง กรมบังคับคดี และ กยศ.
ถึงโครงการไกล่เกลี่ยหนี้เมื่อวันที่ 21 - 22 ก.พ. ที่ผ่านมา มีการหนังสือเชิญลูกหนี้ในกรุงเทพมหานคร กว่า 1,976 ราย
มูลค่าลหนี้ประมาณ 270 ล้านบาท เพื่อร่วมไกล่เกลี่ยวางแผนผ่อนชำระหนี้ เพื่อไม่ให้ถูกยึดทรัพท์ตามกฎหมาย
โดยลูกหนี้ที่ไม่ไกล่เกลี่ยไม่ยอมชำระเงิน ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันจะต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด
      
        ด้าน ขวัญระพี จุฬาพิมพ์พันธุ์ รองอธิบดีกรมบังคับคดี เปิดเผยผ่านสื่อว่า ขณะนี้หนี้ที่ถูกศาลสั่งบังคับคดีไม่ได้มีเพียงหนี้ครัวเรือน
หนี้จากการผ่อนรถยนต์ หรือหนี้บัตรเครดิตเท่านั้น แต่มีหนี้จำนวนมากที่เป็นหนี้ในโครงการเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ทั้งนี้ มาตรการไกล่เกลี่ยหนี้ กยศ. เป็นนโยบายลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เปิดโอกาสในการแบ่งชำระตามกำลังทรัพย์เป็นงวด
เพื่อนำเงินกลับเข้าสู่ระบบกู้ยืมทางการศึกษาแก่นักศึกษารุ่นต่อไป
      
        ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้คร่ำหวอดในแวดวงการศึกษาเสนอแนะวิธีแก้ปัญหา
กรณีผู้กู้ไม่ชำระเงินคืน กยศ. ผ่านสำนักข่าวอิศรา โดยพิจารณาประเด็นสำคัญเชื่อว่าการไม่ชำระหนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจของผู้กู้ ความว่า
      
        เกิดจากความไม่เข้าใจระบบโครงการที่แท้จริงว่า กู้แล้วต้องใช้คืน ขณะที่ตัวผู้กู้เองก็ไม่ได้คำนึงถึงว่า ในอนาคตจะมีรุ่นน้องมากู้ต่อ
และหากไม่คืนจะสร้างภาระให้กับทางรัฐบาลและส่งผลให้รุ่นน้องอาจขาดโอกาสในการกู้
      
        “ขั้นตอนการดำเนินการเป็นอย่างไรตัวนิสิตนักศึกษาก็ไม่ทราบ เนื่องจากไม่มีการอธิบายอย่างละเอียด รวมถึงการพูดถึงความสำคัญ
ให้นักศึกษาตระหนักและเข้าใจว่า เงินที่กู้ไปนั้นต้องคืนนั้น มีประโยชน์ต่อรุ่นน้องที่จะมากู้ต่อ เป็นต้น”
      
        โดยเสนอแนะแนวทางปฏิบัติ 4 ข้อ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้กู้ กยศ. ขำระเงินคืนสู่ระบบ
      
        1. ช่วงเริ่มต้นของการกู้จะต้องมีการแนะนำ พร้อมสร้างความเข้าใจให้นักศึกษาเห็นว่า เงินที่กู้ไปนั้นเป็นเงินที่มีคุณค่า
มีคุณค่าต่อรุ่นน้องในอนาคตที่ต้องการจะเรียน มีคุณค่าในการพัฒนาประเทศ หากไม่ชำระคืนจะส่งผลกระทบต่อผู้กู้ในช่วงต่อไป
      
        2. ให้ผูกรายชื่อของผู้กู้เข้าในระบบเครดิตยูโร หากไม่ชดใช้ภาระหนี้ก็จะมีประวัติหนี้เสีย ท้ายที่สุดจะไม่สามารถดำเนินกู้ซื้อบ้านหรือรถได้
      
        3. สำหรับในภาคเอกชน ทางรัฐบาลต้องขอความร่วมมือกับหน่วยงานบริษัท ไม่ให้รับนักศึกษาหรือนิสิตที่มีภาระหนี้แล้วไม่ชดใช้คืน
ด้วยการตรวจสอบจากหมายเลขบัตรประชาชน โดยให้ทำข้อมูลผูกกับระบบไว้ ซึ่งแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงชื่อเพื่อหลบหนี แต่เลขบัตรประชาชนเปลี่ยนไม่ได้แน่นอน
      
        4. ห้ามให้นิสิตนักศึกษาที่มีภาระผูกผันหนี้ที่ไม่ชดใช้ กยศ. สมัครสอบราชการ เพราะถือว่าคนที่จะมาเป็นราชการต้องไม่โกง





หมวด: คุณภาพชีวิต
»ผู้ชนะที่แท้จริง
10-07-2021
»ตำนานพระอินทร์(3)
13-09-2016
»เกษียณอย่างมีคุณภาพเป็นอย่างไร
25-08-2016
»ละครหุ่นสายรุ่นจิ๋ว
21-09-2015
»ผลกระทบ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ นักเลงคีย์บอร์ดพึงระวัง
09-08-2015
»ขนส่งมวลชนจริงๆ
21-05-2015
»ข้าวปลอมมาแล้ว จาก...
21-05-2015
»ข้าวกล่องแห่งความรัก
25-02-2015
»มาตราการแก้ลำ ชักดาบเงิน กยศ. ไม่จ่าย ยึดทรัพย์ ฯลฯ
23-02-2015
»การศึกษาไทยจากมุมมองของคนประเทศที่เจริญแล้ว
06-02-2015
»ตำนานพระอินทร์(2) ปลูกกล้วยริมทาง
07-09-2016
»คราบเปือนเสื้อผ้า จัดการได้ด้วยของในครัว 5 อย่าง
18-01-2015
»น้ำแข็งชงเหล้า 50 ก้อน ถุงละเกือบหมื่นบาท
13-11-2015
»ลดอ้วน-เพิ่มขาว-เสริมเซ็กซ์" ปัญหาซ้ำซาก หวั่นลอบเติมสารอันตราย
06-01-2015
»พรบ.ทวงหนี้ฉบับล่าสุดกำลังจะประกาศใช้
06-01-2015
 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม


คุณครู.คอม ขอแสดงเจตนาว่าทุกข้อความใน เว็บไซต์นี้ให้คัดลอกได้
ไม่จำกัด เพื่อเป็นวิทยาทาน เพื่อการศึกษาเท่านั้น . .

email  [email protected]


kkwebv56   Copyright©2023 kunkroo.com
Development from SMEweb 1.5f By คุณครู.คอม