คุณครู.คอม
.









Online: 18 user(s)

ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ 2541





kunkroo radio

ตรวจสอบแทรคไปรษณีย์ไทย

domain register Admin Only

ทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต

ตรวจสอบไอพี(IP check for locate)

..
     


    :  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม
หมวด: รถยนต์
ผู้ใช้รถยนต์ Peugoet306 หากเครื่องเกิดสะดุดมีไฟ k ขึ้นและดับ
15-08-2016 เข้าชมแล้ว: 5822
ใครใช้รถ Peugoet 106 206 207 306 406 มีอาการดังต่อไปนี้
1.มีไฟ k ขึ้น แล้วเครื่องจะดับ
2.ติดเครื่องได้ปกติ แต่สักพักจะมีอาการสะดุด
3.เครื่องตื้อเร่งไม่ขึ้น
4.เข็มไมล์ และวัดรอบแกว่งๆ หยุด ๆ
ข้างล่างนี่เลย ตัวจำเลย

4-Pins Oxygen O2 Lambda Probes Sensor

สาย 4 เส้น

สีขาว 2 เส้น เป็นสาย heater + กับสาย heater -
สีดำ เป็นสายสัญญาณ + สีเทา เป็นสายสัญญาณ -
สำหรับรถ peugoet 106, 206, 207 ,306, 406 ใช้ได้หลายรุ่น
ความสำคัญของมันคือ เป็นตัวตรวจสอบอ๊อกซิเจนที่ไปผสมกับน้ำมัน ว่าจะใช้มากน้อยเพียงใดให้เป็นไปตาม
รอบหมุนของเครื่องยนต์โดยจับปริมาณเขม่าที่ปนมากับไอเสีย แล้วแจ้งไปยัง ECU ดังนั้นตัวนี้จะติดตั้งอยู่กับท่อไอเสีย
ตรงใกล้ ๆ กับ cat หากมีอาการสกปรก หรือเสีย ตอนแรก ๆ อาการคือ เครื่องยนต์จะมีรูป ตัว K ปรากฏขึ้น
แล้วเครื่องยนต์จะสะดุด บางคันอาจดับเลย มีหลายคนบอกว่ารถเขาดับทุกไฟแดงเลย แต่พอติดเครื่องใหม่
ก็จะติดปกติ นั่นแหละคือาการเริ่มต้นแล้ว

อธิบายการทำงานของอุปกรณ์ตัวนี้

อากาศโดยทั่วไปจะมีออกซิเจนอยู่ 21 % แต่ในไอเสียรถยนต์ ที่เผาไหมดี จะมีปริมาณออกซิเจนอยู่ที่ 1-2 % ทั้ง
นี้ขึ้นอยู่ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ซึ่งเครื่องนี้จะอ่านค่าออกซิเจนในทางเดินไอเสีย และส่งค่าไปยังกล่องสมองกล
เพื่อคำนวณว่าเครื่องยนต์มีประสิทธิภาพเผาไหม้ไอ ดีอย่างไรO2 Sensor สร้างขึ้นด้วยกระเปาะหลอดทรงถ้วย
ซ้อนกันสองชั้น เปลือกของหลอดทำด้วยทองคำขาวที่มีรูพรุนและระหว่างเปลือก 2 ชั้นจะบรรจุเซรามิกที่นำไฟฟ้าได้ไว้
ตัวเซ็นเซอร์นี้จะถูกขันติดเข้าไปในทางเดินท่อไอเสีย ด้านหน้าของ แคทาลิติกคอนเวิร์ตเตอร์ เพื่อให้ส่วนที่เป็น
กระเปาะเข้าไปรับไอเสีย และส่วนท้ายกระเปาะอยู่นอกทางเดินไปเสียเพื่อให้สายไฟมาเสียบต่อเข้ากับ กล่องสมองกล
การทำงาน
เมื่อไอเสียไหลเข้าในกระเปาะ จนถึงเปลือกชั้นในของกระเปาะ ตัว O2 Sensor จะมีการเปรียบค่ากันระหว่างออกซิเจน
ในไอเสียกับออกซิเจนภายนอก ส่งผลให้เกิด ions ขึ้นภายในเซรามิกที่กั้นไว้ ซึ่ง ions เป็นอะตอมที่มีค่าความต่างของ
กระแสบวกและกระแสลบ และจะสร้างกระแส Voltage ขึ้น ยิ่งความต่างของออกซิเจนในไอเสียกับอากาศภายนอก
มากเท่าไหร่ ions ก็ยิ่งมาก และกระแส Voltage ก็จะมากตามไปด้วย
กระแส Voltage ที่ได้จะส่งไปยังกล่องสมองกล เพื่อวัดค่าว่ากระแสอยู่ในระดับที่ควรเป็นหรือไม่
โดยปกติกระแสที่ปล่อยจากตัวออกซิเจนเซนเซอร์ จะมีค่า 0.2 - 0.9 โวลต์ และกล่องสมองกล จะจ่ายเชื้อเพลิง
ให้ตามอัตราข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งถ้าค่าโวลต์ที่ได้รับมีมากแสดงว่า ส่วนผสมของเชื้อเพลิงมีน้อยเกินไป
และถ้าถ้าค่าโวลต์มีน้อย แสดงว่าส่วนผสมของเชื้อเพลิงมีมากเกินไป
ออกซิเจนเซ็นเซอร์แบบนี้บางครั้งจะเรียกว่า narrow-range oxygen sensor เพราะการที่ตัวจับสัญญาณ
เปลี่ยนค่าเร็วมาก วินาทีละ 5-7 ครั้ง ในสภาพเครื่องปกติ ผู้ขับจึงรู้สึกว่ารถเดินเรียบนั่นเอง


วิธีแก้ไข
1.ขึ้นแม่แรง หรือขึ้นฮ้อยส์ เพื่อตรวจสอบและถอดออกมาทำความสะอาด แล้วใส่กลับเข้าไปใหม่
2. จะให้ชัวร์ ซื้อมาเปลี่ยนใหม่เลย (ผมซื้อจาก Lazada.co.th ใช้ข้อความ
4-Pins Oxygen O2 Lambda Probes Sensorเป็นคำค้นหา
ราคา หลักร้อย ประมาณ 568 บาท เขาลด 50%)

วิธีทดสอบ เช็ค O2 sensor แบบเบื้องต้น
เครื่องมือและอุปกรณ์ก็ไม่มีอะไรมาก ก็มี มัลติมิเตอร์ (วัดโอห์ม+วัดโวลล์),
แหล่งจ่ายไฟ 12 โวลล์ (แบตฯก็ได้), ไฟแช็ค และก็ O2 sensor ที่ต้องการวัด
1. วัด Heater ก่อนครับว่าขาดหรือไม่ เอามิเตอร์ ตั้งค่า x1 แตะสาย สีขาวทั้ง + และ -  ถ้าอ่านค่าความต้านทาน
จะอยู่ประมาณ 2-5 โอห์มแสดงว่ายังดี  หากวัดแล้วค่าเป็น infinity หรือสูงมากๆ ก็แสดงว่า heater ขาด
แต่ถ้าน้อยเป็น 0 โอห์มก็ช๊อตล่ะครับ
2. วัดค่า output ของ sensor ครับ โดยการจ่ายไฟ 12 โวลล์เข้าขั้ว heater เพื่อให้ O2 sensor ทำงาน
จากนั้นก็วัดแรงดันที่ออกมาจากขั้วเซนเซอร์ (+,-) แรงดันที่ออกมาจะอยูในช่วงประมาณ 0.2-0.8 โวลล์ ขึ้นอยู่กับปริมาณ
ของออกซิเจนโดยรอบหัว เซนเซอร์ครับ โดยถ้าหากออกซิเจนน้อยแรงดันที่ออกมาจะมาก แต่ถ้าหากออกซิเจนมากแรงดันที่ออกมาจะน้อยครับ
(แปรผกผันกันครับ)
3. เผามันเลย !!+ ครับ เอาแบบนี้เลย ทำต่อจากข้อ 2. ครับ โดยจุดไฟแช็คให้เปลวไฟอยู่ที่หัวเซนเซอร์ แล้วลองเอาเข้า-ออก ค่าแรงดันก็
จะสวิงตามครับ เมื่อเปลวไฟอยู่ที่หัวเซนเซอร์ค่าแรงดันที่ออกมาจะสูงกว่าเนื่องจากภายใน เปลวไฟจะไม่มีออกซิเจนอยู่ครับ

ใช่รถอย่างมั่นใจ ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เรื่องรถยนต์คันที่เราใช้ จะได้ประหยัด เงินในกระเป๋า ทำเป็นแล้วภูมิใจ
จะไปหาช่างก็ต่อเมื่อเราทำไม่ได้จริง ๆ






 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม


คุณครู.คอม ขอแสดงเจตนาว่าทุกข้อความใน เว็บไซต์นี้ให้คัดลอกได้
ไม่จำกัด เพื่อเป็นวิทยาทาน เพื่อการศึกษาเท่านั้น . .

email  [email protected]


kkwebv56   Copyright©2023 kunkroo.com
Development from SMEweb 1.5f By คุณครู.คอม