คำว่า อนุโมทนา กับ โมทนา ต่างกันอย่างไร
"อนุโมทนา" แปลว่า พลอยยินดีตามที่ได้เห็นหรือรู้ว่าผู้อื่นได้สร้างบุญกุศล และขอแสดงความรู้สึกยินดีต่อบุญกุศลของผู้นั้น
จึงเปล่งวาจาต่อผู้นั้นว่า อนุโมทนา คำว่า อนุโมทนา มาจาก คำสองคำคือ
อนุ และ โมทนา
อนุ แปลว่า เล็ก ,น้อย ,คล้อย, ตาม
โมทนา แปลว่า ยินดี , ชื่นชม
ดังนั้นคำว่า อนุโมทนาแปลว่า ยินดีตาม ชื่นชมตาม ( อนุไม่ใช่ แปลว่าน้อยในที่นี้ )
หรือ อธิบาย อนุโมทนา คือ สภาพธรรมของจิตที่ปรุงแต่งด้วยกุศลหรือ โสภณะ มีลักษณะพลอยยินดีในกุศลธรรมของผู้อื่น
คำที่ถูกที่สุด คือ ควรใช้คำว่า อนุโมทนา
ส่วนคำว่า "โมทนา" นั้น เป็นเพียงคำย่อ ของ อนุโมทนา
และคำว่าโมทนา คำนี้เดี่ยวๆ ไม่ได้เป็นคำที่ใช้ในบัญญัติของธรรมะวินัย
แต่เชื่อว่า เป็นเพียงคำที่ผู้คนที่ไม่เข้าใจ นำมาย่อกันเอาเองจาก อนุโมทนา เป็นโมทนา
เพื่อสะดวกในการเรียกให้สั้น หรือเพื่อให้เกิดการกระชับความ
เหมือนเช่น คำว่า "ดิฉัน" เป็น คำรากศัพท์เดิม แต่พอใช้กันบ่อยๆ ก็ไม่อยากเรียกคำเต็มๆ จึงแผลงเรียกว่า "ฉัน"
หรือหากเป็นภาษาพูดแบบให้รวบรัด ก็แผลงเป็น "เดี๊ยน"
ดังนั้น คำว่า "โมทนา" นั้น จึงไม่ใช่คำเดิมที่ได้บัญญัติไว้เพื่อแสดงความยินดีในบุญของผู้อื่น แต่เป็นคำพูดแบบลวกๆ
เพราะที่ถูกต้อง เป็น อนุโมทนา
ดังที่คำนี้ ปรากฎในพระพุทธพจน์ในไตรปิฎกบทหนึ่งมีความว่า
......................................
[๔๒๑] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า ใครหนอพึง อนุโมทนา ในโรงฉัน
แล้วจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น
ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระ อนุโมทนา ในโรงฉัน ฯ
....................................
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า คำที่ถูกต้องที่สุดคือคำว่า อนุโมทนา
การที่เราได้กล่าวอนุโมทนาต่อกุศลกรรมของผู้อื่นนั้น เราผู้กล่าวจะได้รับผลแห่งบุญนั้นร่วมไปด้วย
(สมมติว่า ได้ผลบุญประมาณ 30 เปอรเซ็นต์ หากเขาทำบุญใหญ่ซึ่งจะมีอานิสงส์ได้รับเงิน 1 ล้าน
เรากล่าวอนุโมทนาด้วยใจพลอยยินดี เราจะได้ไป 3 แสน คนที่ฉลาดในบุญแม้มีทรัพย์น้อยแต่
ได้กล่าวอนุโมทนาในทานกุศลของผู้อื่นบ่อยๆ เขาย่อมได้ผลบุญไปด้วย
ยิ่งกล่าวมากยิ่งได้มาก หลายคนไปมักยืนหน้าตู้บริจาคที่มีคนทำบุญมากๆ และกล่าวอนุโมทนา
กับทุกคนที่ได้หยอดเงินทำบุญในตู้ เขาผู้นั้นย่อมรับผลบุญนั้นนับไม่ถ้วนเลย )
แต่มีข้อแม้ว่า สภาพจิตของเรา ณ ที่ขณะที่กล่าวอนุโมทนา ต้องเป็นสภาพจิตที่ยินดี และ แช่มชื่นในบุญของ
ผู้อื่นด้วย เพราะบุญจะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดที่จิต ส่วนการเปล่งคำอนุโมทนา เป็นการยืนยัน หรือรับรองสภาพจิต
ของเราให้มีกำลังด้วยการเปล่งออกมาเป็นวจีกรรม
การกล่าวเป็นคำเช่นนี้ จะมีผลแห่งบุญนั้นเพิ่มทวีมากขึ้นกว่าที่เราไม่ได้กล่าวว่า อนุโมทนา
เพราะการอนุโมทนานั้น เป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ 10 ในข้อที่ ปัตตานุโมทนามัย คือ บุญสำเร็จได้
จากการได้อนุโมทนาแต่หากสภาพจิตเรา ไม่ได้เป็นกุศล หรือไม่ได้พลอยยินดี หรือไม่แช่มชื่นเบิกบานแล้ว
กล่าวเป็นวาจาว่าอนุโมทนา ผลบุญที่จะได้รับนั้นมีน้อยมาก เพราะสภาพจิตไม่ได้เป็นกุศลแต่อาจเป็นจิตที่เป็นอุเบกขา
ที่ไม่เอนมาทางฝ่ายกุศลซึ่งไม่ก่อให้เกิดเป็นบุญได้ต้องเข้าใจว่า จิตใดจะเป็นบุญหรือไม่ หรือเป็นบุญมากหรือน้อย
สำคัญที่สภาพจิตของเราขณะนั้นปรุงแต่งไปทางกุศลหรือไม่หรือ จิตสัปยุตต์ด้วยโสภณเจตสิกหรือไม่ หากไม่เป็นกุศล
จะกล่าวคำใดซึ่งเป็นเพียงคำบัญญัติ ก็ไม่อาจเป็นกุศลขึ้นมาได้ แต่หากเรามีจิตแช่มชื่นพลอยยินดีในบุญกุศลของผู้อื่น
แม้จะไม่ได้กล่าวว่า อนุโมทนา ก็ย่อมบังเกิดเป็นกุศลผลบุญ เพียงแต่จะน้อยกว่าได้กล่าว อนุโมทนา หรือหากจิตแช่มชื่น

พลอยยินดีในกุศลผู้อื่น และกล่าวคำย่อว่า "โมทนา" แทนคำว่า "อนุโมทนา" ก็ย่อมได้ผลบุญนั้นเพียงแต่
เราใช้คำไม่ถูกต้องแม้จะไม่ได้ผิดในทางหลักของกรรมแต่ทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้อื่นได้โดยเฉพาะ
หากผู้นั้นเป็นเทพเทวาหรือ เจ้ากรรมนายเวร เช่น หากเราทำบุญ และปรารถนาจะอุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวรของเรา
เมื่อเรากล่าวคำอุทิศบุญแล้ว และให้เจ้ากรรมนายเวร มีส่วนร่วมของบุญนี้ของเราแต่เรากล่าว ขอให้ท่าน
ร่วม "โมทนา" ด้วยเจ้ากรรมนายเวรเราแม้จะเข้าใจในเจตนาของเราจากการหยั่งรู้วาระจิตของเรา
แต่คำที่เราเอ่ยไปนั้น ไม่ใช่คำที่สื่อให้ร่วมพลอยยินดีกับบุญที่อุทิศให้เพราะคำว่า อนุโมทนา กับ โมทนา
นั้นแม้จะเหมือนกันในทางโลกเพีนงแค่ย่อให้กระชับขึ้น แต่ในทางโลกวิญญาณนั้น ไม่มีคำว่า "โมทนา"