ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ 2541
ตรวจสอบแทรคไปรษณีย์ไทย
domain register Admin Only
ทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ตรวจสอบไอพี(IP check for locate)
การนอนกลางวันช่วยลดความเครียด จึงลดความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ นักวิจัยแนะนอนกลางวันช่วยลดความเครียดจากการทำงาน ทำให้มีสติและสมาธิดีขึ้น การศึกษาพบว่า พนักงานที่หลับอย่างน้อย 45 นาทีในช่วงกลางวัน มีความดันโลหิตต่ำกว่าหลังเผชิญความเครียดทางอารมณ์ เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมงานที่เจอสถานการณ์เดียวกันแต่ไม่ได้งีบหลับ ตารางงานยาวเหยียด การทำงานแบบกะ เพิ่มระดับความกังวลระหว่างภาวะเศรษฐกิจถดถอย และการดูทีวีจนดึกดื่นมีผลต่อการนอนหลับในตอนกลางคืน ซึ่งทำให้เราได้หลับน้อยลงกว่าที่เคยเป็นมาและน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ระยะเวลาเฉลี่ยในการนอนหลับปัจจุบันน้อยกว่าเมื่อ 50 ปีก่อนเกือบ 2 ชั่วโมง และการนอนน้อยเชื่อมโยงกับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไรอัน บรินเดิล และดร.ซาราห์ คอนกลิน จากวิทยาลัยอัลลิเกนีในเพนซิลเวเนีย สหรัฐฯ ทำการทดลองเพื่อดูว่าการนอนหลับตอนกลางวันมีผลต่อการฟื้นตัวของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจหรือไม่ ทีมนักวิจัยแบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่มๆ หนึ่งได้รับอนุญาตให้นอนหลับ 60 นาทีตอนกลางวัน อีกกลุ่มไม่ได้รับอนุญาตให้ทำแบบเดียวกัน นักวิจัยยังขอให้นักศึกษาทำแบบสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพในการนอนหลับ รวมถึงทำกิจกรรมเพื่อกระตุ้นการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งรวมถึงการลบเลขในใจที่ซับซ้อน ระหว่างการทดลอง นักวิจัยจะวัดความดันโลหิตและอัตรการเต้นของชีพจรของนักศึกษาเป็นระยะ ซึ่งพบว่าการนอนกลางวันดูเหมือนส่งผลในการฟื้นฟู โดยที่นักศึกษาที่ได้นอนกลางวันง่วงนอนน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้นอน แม้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของชีพจรของทั้งสองกลุ่มสูงกว่าระดับมาตรฐานและในระหว่างที่มีความเครียด แต่ในระหว่างระยะการฟื้นตัว คนที่ได้นอนกลางวันกลับมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่าอีกกลุ่มที่ไม่ได้นอน ผลลัพธ์นี้แสดงให้เห็นว่า การนอนกลางวันระหว่าง 45-60 นาที ดูเหมือนช่วยให้ความดันโลหิตกลับสู่ภาวะปกติหลังปฏิบัติภารกิจที่ทำให้เกิดความเครียดทางจิตใจภายในห้องปฏิบัติการ นักวิจัยที่รายงานผลการศึกษาในวารสารอินเตอร์เนชันแนล เจอร์นัล ออฟ บีแฮฟวิออรัล เมดิซิน กล่าวว่าการค้นหานี้บ่งชี้ว่าการนอนหลับกลางวันอาจเป็นประโยชน์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ด้วยการเร่งการฟื้นตัวของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจหลังภาวะเครียด อย่างไรก็ดี นักวิจัยยอมรับว่าจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อค้นหากลไกที่เชื่อมโยงการนอนกลางวันกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ และเพื่อประเมินผลการนอนกลางวันในรูปวิธีรักษาและป้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจและผู้ที่นอนหลับอย่างไม่มีคุณภาพ