หลังให้ศีลห้าจบพระจะให้พรผู้รับศีลห้า ว่า
อิมานิ ปัญจสิกขาปทานิ สีเลนสุคติงยันติ สีเลนโภคสัมปทา สีเลนิพพุติงยันติ ตัสสมา สีลังวิโสทเย
คำขอศีลแปด
อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สมาธิ ยามิ
ทุติยัมปิ อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สมาธิ ยามิ
ตติยัมปิ อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สมาธิ ยามิ
หรือ (ใช้แบบไหนก็ได้)
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะอัฎฐะ สีลานิ ยาจามะ ฯ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะอัฎฐะ สีลานิ ยาจามะ ฯ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะอัฎฐะ สีลานิ ยาจามะ ฯ
คำอาราธนาอุโบสถศีล
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ ฯ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ ฯ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ ฯ
ศีลทั้งแปด
1.ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการฆ่าสัตว์
2.อทินฺนา ทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการลักสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้
3.อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
4.มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
5.สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
6.วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล (หลังเที่ยงถึงวันใหม่)
7.นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
: เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และประดับร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม
8.อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ : เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่ง ที่เท้าสูงเกิน ภายในมีนุ่นหรือสำลี

ภาพประกอบเรื่อง จากอินเตอร์เน็ต
ความรู้เรื่องอุโบสถศีล
ศีลแปด หรือ อุโบสถศีล เป็นศีลของคฤหัสถ์ หมายถึง อุบาสกอุบาสิกาทั่วไป มิใช่สงฆ์ (ซึ่งมีศีลเฉพาะตนอยู่แล้ว) โดยมักจะรับศีลแปดในวันอุโบสถ
คือวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ, ๑๕ ค่ำ, และวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด นิยมรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน หรือ 3 วัน จัดเป็นศีลขั้นตำของพระอนาคามี
โดยปกติผู้รักษาศีลจะเปล่งวาจาอธิษฐาน ที่จะขอสมาทานศีลตั้งแต่เช้าของวันนั้น หากรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน เรียกว่า "ปกติอุโบสถ"
และหากรักษา 3 วัน เรียกว่า "ปฏิชาครอุโบสถ"องค์ประกอบของอุโบสถศีลมี ๘ ข้อ เช่นเดียวกับศีล ๘ ทุกประการ
เพียงแต่ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะรักษาเฉพาะวันอุโบสถ ในวันหนึ่งคืนหนึ่ง คำว่า วันหก็สมาทานอุโบสถศีลนึ่งคืนหนึ่ง
ท่านนับตั้งแต่อรุณขึ้นของวันที่รักษา ไปจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ ถ้ารักษาไม่ครบตามเวลาที่กำหนดนี้ ก็ไม่ชื่อว่า วันหนึ่ง คืนหนึ่ง
มื่อคิดว่า พรุ่งนี้เราจักสมาทานอุโบสถศีล ควรจะเตรียมตัวให้พร้อมก่อน ดังนี้
1.ควรตรวจสอบและมอบหมายการงานที่จะต้องจัดแจงไว้ก่อนให้เรียบร้อย
2. ควรเปล่งวาจา ขอสมาทานอุโบสถในสำนักภิกษุ ภิกษุณี หรืออุบาสก อุบาสิกา ผู้รู้ลักษณะของศีล ๘ ตั้งแต่เวลาที่อรุณขึ้น
3.ผู้ที่ไม่รู้บาลี ควรอธิษฐานในความหมายว่า ข้าพเจ้าขออธิษฐานองค์อุโบสถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว และควรเปล่งวาจาสมาทาน
4. หากในที่นั้นไม่มีภิกษุ ภิกษุณี หรืออุบาสก อุบาสิกา ก็เปล่งวาจาอธิษฐานด้วยตนเอง (หรือเปล่งวาจาต่อหน้าพระพุทธรูป)
5.เมื่อสมาทานอุโบสถแล้ว ไม่พึงวิพากษ์วิจารณ์ คือ ติหรือชมความดี ความงาม หรือความบกพร่องของผู้อื่น
6.เมื่อบริโภคอาหารเช้าแล้ว มุ่งตรงไปยังวิหารเพื่อฟังธรรม หรือมนสิการอารมณ์กัมมัฏฐาน ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เช่น
6.1 อาณาปานสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้าออกโดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ว่า"พุท" ลมหายใจออกว่า "โธ"
6.2 กายคตานุสสติ คือการพิจารณาร่างกายของเรา ว่าเป็น อนิจจัง ความไม่เที่ยง ของขันธ์ทั้งห้า ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ความไม่มีตัวตน
6.3 มรณานุสสติ คือการกำหนดให้จิตนึกถึงความตาย ตลอดเวลา ตามที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา ตรัสกับพระอานนท์ว่า
อานันทะ ดูกรอานนท์ เธอนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระอานนท์ทูลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ข้าพระพุทธเจ้านึกถึงความตายวันหนึ่งประมาณ 7 ครั้ง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อานันทะ ดูกรอานนท์ เธอนึกถึงความตายห่างเกินไป สำหรับตถาคตนี้นึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก
7.อุโบสถศีล เป็นศีลรวม ถ้าขาดองค์ใดองค์หนึ่ง ก็ไม่เรียกว่าอุโบสถศีล ตามพระพุทธบัญญัติ เพราะฉะนั้น การล่วงศีลหรือขาดอุโบสถศีลเพียงข้อเดียว
ก็ถือว่าขาดทั้ง ๘ ข้อ ผู้ที่รักษาอุโบสถศีล จึงควรสำรวมระวังกาย วาจาเป็นพิเศษ.
ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างอุโบสถศีลกับศีล 8
1.อุโบสถศีล กับ ศีล 8 มีข้อห้าม 8 ข้อเหมือนกัน
2.คำอาราธนา (ขอศีล) แตกต่างกัน
3.อุโบสถศีล มีวันพระเป็นแดนเกิด สมาทานรักษาได้เฉพาะ วันพระเท่านั้น ส่วนศีล 8 สมาทานรักษาได้ทุกวัน
4.อุโบสถศีล มีอายุ 24 ชั่วโมง (วันหนึ่งคืนหนึ่ง) ส่วนศีล 8 ไม่มีกำหนดอายุในการรักษา
5.อุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือน หรือเป็นศีล ของชาวบ้านผู้บริโภคกาม (กามโภคี) ส่วนศีล 8
เป็นศีลสำหรับ ชาวบ้านผู้ไม่ครองเรือน เช่น แม่ชี
คำประกาศองค์อุโบสถ(หัวหน้าฯเป็นผู้ประกาศคนเดียว)
อัชชะ โภนโต ปักขัสสะ อัฏฐะมีทิวะโส เอวะรูโป โข โภนโต ทิวะโส พุทเธนะ
ภะคะวะตา ปัญญัตัสสะ ธัมมัสสะวะนัสสะเจวะ ตะทัตถายะ อุปาสะกะอุปาสิกานัง อุโปสะถัสสะ จะ
กาโล โหติ หันทะ มะยัง โภนโต สัพเพ อิธะ สะมาคะตา ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา
ปูชนัตถายะ อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสถัง อุปะวะสิสสามาติ
กาละปะริจเฉทัง กัตวา ตัง ตัง เวระมะณิง อารัมมณัง กัตวา อวิกขิตตะจิตตา หุตวา สักกัจจัง
อุโปสะถัง สมาทิเยยยามิ อีทิสัง หิ อุโปสะถัง สัมปัตตานัง อัมหากัง ชีวิตัง มานิรัตถะกัง โหตุฯ
หมายเหตุ คำประกาศนี้สำหรับวันพระ ๘ ค่ำ ถ้า ๑๕ ค่ำทั้งขึ้นทั้งแรม ใช้คำว่า "ปัณณะระสีทิวะโส"
ถ้าเป็นวันพระ ๑๔ ค่ำใช้คำว่า "จาตุททะสีทิวะโส"

ภาพวาดสีน้ำมัน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) หุ่นขี้ผึ้ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) ยอดพระนักปฎิบัติธรรมชั้นสูงของประเทศไทย ได้ให้แนวทางอันเป็นหัวใจแห่งการทำสมาธิไว้ในหนังสือ
“ประชุมโอวาสฯ” ตอนหนึ่งว่า
“ ข้อสำคัญมีอยู่อย่างหนึ่ง อันเป็นหัวใจแก่การทำสมาธิ สิ่งนั้นประเภทแรกคือศีลที่จะต้องปฏิบัติ"
เมื่อรักษาศีลให้ครบไม่ด่างพร้อยแล้ว การกระทำสมาธิย่อมสำเร็จได้โดยเร็ว ศีลที่จะให้ปฏิบัติในขั้นแรกก็มีเพียง 5 ประการเท่านั้น
รักษาศีลทั้ง 5 นี้ให้บริสุทธิ์คงอยู่เสมอไปแล้ว การทำสมาธิ ก็ไม่เป็นเรื่องยากเย็นอะไร ข้อสำคัญพึงจำไว้ว่า การที่จะรักษาศีลนั้น
จะมีวิธีการทำการละเว้นไม่ปฏิบัติในทางที่ผิดศีล และประพฤติ
ปฏิบัติที่จะรักษาศีลด้วยเหตุ 3 ประการ
ประการที่ 1 เรียกว่า เจตนาวิรัช ได้แก่ตั้งเจตนาที่จะละเว้นการกระทำอันเป็นการผิดศีลของตัวเอง โดยไม่ต้องไปกล่าวคำให้ผู้อื่นฟัง
คือหมายความว่าโดยไม่ต้องมีการสมาทานศีลนั้น ให้ตั้งจิตเจตนาไว้ภายในอย่างมั่นคง ว่าจะรักษาศีลทั้ง 5 นี้ไว้ให้บริสุทธิ์
ประการที่ 2 เรียกว่า สมาทานวิรัช หมายความว่าการที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ด้วยวิธีที่กล่าวคำขอศีลจากพระภิกษุ เป็นต้น
การขอศีลจากพระภิกษุนั้น เมื่อได้รับศีลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระภิกษุจะอนุโมทนาศีลและให้พร จงรับทั้งศีลและพรนั้น
มิใช่ตั้งใจรับแต่พรแต่ศีลนั้นปล่อยไปหาประโยชน์อันมิได้ เมื่อสมาทานศีลนั้นแล้วก็พึงประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปตามสิ่งที่ได้กล่าวปฏิญาณว่าจะ
รักษาศีลนั้นให้บริสุทธิ์
ประการที่ 3 เรียกว่า สมุทเฉทวิรัช คือการละเว้นโดยสิ้นเชิง มิให้มีสิ่งใดเหลืออยู่อีก เป็นการกระทำขั้นสูงสุด พยายามที่จะกระทำจิตและกาย วาจา
ให้บริสุทธิ์อย่างสูง คือเป็นสิ่งที่รักษากาย วาจาให้ เป็นปกติอยู่ เมื่อกาย วาจาอันเป็นปกติแล้ว จิตย่อมเข้าสู่ความสงบอันเป็นปกติด้วย
กิเลสพอกพูนอยู่ในดวงจิตก็ดี อาสวะคือเครื่องดองอันดวงจิตได้ตกลงไปหมักอยู่ก็ดี ย่อมจะลดน้อยถอยลง และเสื่อมสูญไป ทำให้ดวงจิตผ่องใส
ปราศจากธุลีเศร้าหมอง เป็นจิตที่มีความรุ่งโรจน์ เป็นจิตที่เจริญด้วยการอบรมเนืองๆจากศีลนั้น
การประพฤติปฏิบัติ ด้วยการตั้งจิตเจตนาที่จะละเว้นการปฏิบัติในการผิดศีลทั้ง 3 ประการที่กล่าวนี้
หากเกิดแก่ผู้ใดนั้นย่อมจะได้สมความมุ่งมาดปรารถนา ดังที่มีคำอนุโมทนาและอวยพร
“ อิ,มานิ ปัญจสิกขาปทานิ สีเลน สุคติง ยันติ สีเลน โภคสัมปทา สีเลน นิพพุติ ยันติ ตัสมา สีบัง วิโสธเย”
เมื่อจะแปลเป็นข้อความโดยย่อแล้วก็ย่อมจะกล่าวได้ว่า อันศีลทั้งหลายที่ได้ยึดถือและรักษาไว้นี้ ศีลย่อมจะรักษาผู้มีศีลให้มีความสุข
ศีลย่อมจะอำนวยผู้มีศีลให้ประสบซึ่งความมั่งคั่งสมบูรณ์ ศีลนำจิตเข้าสู่ที่อันสงบคือพระนิพพานได้ดังนี้ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ทำตนให้เป็นผู้มีศีลไว้ดังนี้เป็นต้น ศีลย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการที่จะทำจิตให้เกิดสมาธิ
ด้วยเหตุนี้ผู้ที่จะตั้งใจกระทำสมาธิจิต นอกจากจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว ยังต้องประกอบไปด้วยพรหมวิหาร 4 มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ควรจะต้องแผ่เมตตาจิตไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย มนุษย์ อมนุษย์ รูปวิญญาณ ญาติมิตร อริศัตรู บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย บรรพชนต้นตระกูล
ครูบาอาจารย์ ท่านผู้มีอุปการคุณ อารักขาเทวดา และทวยเทพเทวา พรหมมา เป็นต้น และอุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เป็นต้น
การเห็นในสมาธิ หลังจากที่บำเพ็ญจิตให้บังเกิดสมาธิอันแน่วแน่แล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ได้ประทานข้อแนะนำไว้ว่า....
การเห็นในสมาธิมี 3 อย่าง
1. การเห็นในสมาธิที่ตั้งใจหมายไว้อย่างหนึ่งที่เกิดจากความปารถนาของจิตเอง อันนี้ไม่ถือว่าเป็นสมาธิ หากเป็นอุปทานต้องลบภาพที่เห็นเช่นนี้
2 เป็นการเห็นเพื่อขอส่วนบุญ หรือชักนำไปสู่ความกำหนัด เกิดกามราคะ เพราะเหตุแห่งมารนำจิตไป หรือมิฉะนั้นดวงวิญญาณทั้งหลายที่มีความทุกข์
ต้องการมาติดต่อขอส่วนบุญ เพื่อบรรเทาความทุกข์เดือดร้อนอดอยาก การเห็นเช่นนี้เห็นโดยจิตมิได้ปารถนา มิได้ตั้งปณิธานหรืออุปทาน
อย่างหนึ่งอย่างใดไว้ เมื่อเกิดภาพนี้ขึ้นให้แผ่ส่วนบุญส่วนกุศลแก่เขาไป อาจเป็นบรรพบุรุษ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร เป็นต้น
3. เป็นการเห็นโดยนิมิตอันประเสริฐ เช่นเห็นพุทธนิมิต เทพนิมิต พรหมนิมิตทั้งหลาย เป็นต้น การเห็นแสงสว่างทั้งปวงก็ดี การเห็นเช่นนี้
เป็นเครื่องบอกว่า ได้เดินเข้าไปในทางที่จะสามารถติดต่อกับทิพย์วิญญาณทั้งหลายได้
พึงพิจารณาแยกให้ออกว่าอันไหนเป็นนิมิต อันไหนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อขอส่วนบุญ อันไหนเป็นอุปทานที่เกิดจากความปารถนาของดวงจิต
จงมีสติตั้งมั่นคุ้มครองดวงจิตโดยที่ไม่ต้องคิดหรือหวังจะให้เกิดนิมิต อันเป็นที่พึงปารถนาในทางที่จะชักนำดวงจิตเข้าไปสู่ทางอกุศลได้ต่อไป
--------------------------------------------------------------------------------------------------
ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย นายนิคม พวงรัตน์
ข้อความเหล่านี้ได้นำมาจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ขอขอบคุณและขออนุโมทนาบุญกับผู้เผยแพร่เหล่านั้นด้วย