คุณครู.คอม
.









Online: 10 user(s)

ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ 2541





kunkroo radio

ตรวจสอบแทรคไปรษณีย์ไทย

domain register Admin Only

ทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต

ตรวจสอบไอพี(IP check for locate)

..
     


    :  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม
หมวด: บทความ
วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
10-01-2013 เข้าชมแล้ว: 20374

บทความ:

วันอาสาฬหบูชา

ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8 ปัจจุบันจะเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาก่อนวันเข้าพรรษา หนึ่งวัน

วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี

ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ

สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ

1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ
การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่

1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต

5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่

1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด
2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ
3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น

ส่วนพิธีกรรมโดยทั่วไปที่นิยมกระทำในวันนี้ คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียนที่เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยเรา ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัด เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคที่ค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้นอย่างนี้...

วันเข้าพรรษา



"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร"

แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา
การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์
การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน
เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ
แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง

กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา


๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร
๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ


พิธีรักษาอุโบสถ

อุโบสถ หมายความว่า การจำศีล คือการรักษาศีล 8 เพื่อขัดเกลากิเลสหยาบๆ ให้เบาบาง มี 2 อย่าง คือ :
1. ปกติอุโบสถ เดือนละ 4 วัน คือ ขึ้น 8 ค่ำ, ขึ้น 15 ค่ำ, แรม 8 ค่ำ, แรม 14 ค่ำ ในเดือนเลขคี่ หรือแรม 15 ค่ำ ในเดือนเลขคู่ (เดือนเลขคี่ เช่นเดือน 7, เดือนเลขคู่ เช่นเดือน 8)
2. ปฏิชาครอุโบสถ คือ เพิ่มข้างหน้า 1 วัน ข้างหลัง 1 วัน รวมเป็นคราวละ 3 วัน เดือนละ 4 คราว, จึงเป็นเดือนละ 12 วัน เช่น ปกติอุโบสถมีในวัน 8 ค่ำ เพิ่ม 7 ค่ำ และ 9 ค่ำ เข้ามา ก็เป็นปฏิชาครอุโบสถ
การรักษาศีล ๘ ข้อ ในวันที่กำหนดนี้ ชื่อว่า "รักษาอุโบสถ"

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

การรักษาอุโบสถนี้ มีพิธีต่อไปนี้

1. พึงตื่นนอนแต่ก่อนอรุณขึ้น เตรียมตัวให้สะอาดเรียบร้อย บูชาพระตั้งแต่รุ่งอรุณ เปล่งวาจาด้วยตนเองก่อนว่า
อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง, อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ
2. ไปวัด เข้าสู่โบสถ์ หรือวิหาร หรือศาลา เป็นต้น ซึ่งทางวัดจัดเตรียมไว้ ได้เวลาประมาณ 09.00 น. พระก็ลงโบสถ์ ทำวัตรเช้าจบแล้ว อุบาสก-อุบาสิกา ก็ทำวัตรเช้า

ทำวัตรจบแล้ว หัวหน้าอุบาสกนั่งคุกเข่า ประนมมือ ประกาศองค์อุโบสถ ว่า

อัชชะ โภนโต ปักขัสสะ อัฏฐะมีทิวะโส (ถ้าวันพระ 15 ค่ำ ว่า ปัณณะระสีทิวะโส 14 ค่ำว่า จาตุททะสีทิวะโส) เอวะรูโป โข โภนโต ทิวะโส พุทเธนะ ภะคะวะตา ปัญญัตตัสสะ ธัมมัสสะวะนัสสะ เจวะ ตะทัตถายะ อุปาสะกะอุปาสิกานัง อุโปสะถัสสะ จะ กาโล โหติ หันทะ มะยัง โภนโต สัพเพ อิธะ สะมาคะตา ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา ปูชะนัตถายะ อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง อุปะวะสิสสามาติ กาละปะริจเฉทัง กัตวา ตัง ตัง เวระมะณิง อารัมมะณัง กะริตวา อะวิกขิตตะจิตตา หุตวา สักกัจจัง อุโปสะถัง สะมาทิเยยยามะ อีทิสัง หิ อุโปสะถัง สัมปัตตานัง อัมหากัง ชีวิตัง มา นิรัตถะกัง โหตุ

คำแปล
ขอประกาศเริ่มเรื่องความที่จะสมาทานรักษาอุโบสถ อันพร้อมไปด้วยองค์แปดประการ ให้สาธุชนที่ได้ตั้งจิตสมาทานทราบทั่วกันก่อน แต่สมาทาน ณ บัดนี้ ด้วยวันนี้เป็น วันอัฏฐะมีดิถีที่แปด (ถ้าวันพระ 15 ค่ำว่า วันปัณณะระสีดิถีที่สิบห้า 14 ค่ำว่า วันจาตุททะสีดิถีที่สิบสี่) แห่งปักษ์มาถึงแล้ว ก็แหละวันเช่นนี้ เป็นกาลที่สมเด็จพระผู้มีภาคเจ้าทรงบัญญัติแต่งตั้งไว้ ให้ประชุมกันฟังธรรม และเป็นกาลที่จะรักษาอุโบสถของอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรมนั้นด้วย เชิญเถิดเราทั้งหลายทั้งปวงที่ได้มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นี้ พึงกำหนดกาลว่าจะรักษาอุโบสถตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่งนี้ แล้วพึงทำความเว้นโทษนั้นๆ เป็นอารมณ์ คือ

เว้นจากฆ่าสัตว์ 1
เว้นจากลักฉ้อสิ่งที่เจ้าของเขาไม่ให้ 1
เว้นจากประพฤติกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ 1
เว้นจากเจรจาคำเท็จล่อลวงผู้อื่น 1
เว้นจากดื่มสุราเมรัยอันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความประมาท 1
เว้นจากบริโภคอาหาร ตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์เที่ยงแล้วไปจนถึงเวลาอรุณขึ้นมาใหม่ 1
เว้นจากฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่างๆ แด่บรรดาที่เป็นข้าศึกแก่บุญกุศลทั้งสิ้น และทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม ผัดผิวทำกายให้วิจิตรงดงามต่างๆ อันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี 1
เว้นจากนั่งนอนเหนือเตียงตั่งม้าที่มีเท้าสูงเกินประมาณ และที่นั่งที่นอน ใหญ่ ภายในมีนุ่นและสำลี และเครื่องปูลาดที่วิจิตรด้วยเงินและทองต่างๆ 1

อย่าให้มีจิตฟุ้งซ่านส่งไปอื่น พึงสมาทานเอาองค์อุโบสถทั้งแปดประการโดยเคารพ เพื่อจะบูชาสมเด็จพระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้านั้นด้วยธรรมมานุธรรมปฏิบัติ อนึ่ง ชีวิตของเราทั้งหลายที่ได้เป็นอยู่รอดมาถึงวันอุโบสถเช่นนี้ จงอย่าได้ล่วงไปเสียเปล่าจากประโยชน์เลย

เมื่อประกาศใกล้จบ พระผู้แสดงธรรมขึ้นนั่งบนธรรมาสน์, อุบาสก-อุบาสิกาทุกคนคุกเข่ากราบ 3 ครั้ง แล้วกล่าว คำอาราธนา (ขอ) อุโบสถศีล ว่า
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, อุโปสะถัง ยาจามะ (ว่า 3 จบ)

รับศีลอุโบสถ แล้วว่าตามพระสงฆ์ที่บอกเป็นตอนๆ ว่า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

เมื่อพระสงฆ์ว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง พึงรับพร้อมกันว่า อามะ ภันเต
1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
2. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
3 . อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
4 . มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
5 . สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
6 . วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
7 . นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
8 . อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง, อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ (หยุดรับเพียงเท่านี้)

ตอนนี้ พระสงฆ์จะว่า อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อุโปสะถะวะเสนะ มะนะสิกะริตวา สาธุกัง อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ (พึงรับพร้อมกันว่า) อามะ ภันเต (พระสงฆ์ว่าต่อ)
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย

อุบาสก-อุบาสิกา กล่าวคำว่า " สาธุ" กราบ 3 ครั้ง นั่งราบ ประนมมือฟังธรรมต่อไป

เมื่อพระแสดงธรรมจบ ทุกคนให้สาธุการ และสวดประกาศตนพร้อมกันว่า
สาธุ สาธุ สาธุ
อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะโต (หญิงว่า คะตา)
อุปาสะกัตตัง (หญิงว่า อุปาสิกัตตัง) เทเสสิง ภิกขุสังฆัสสะ สัมมุขา
เอตัง เม สะระณัง เขมัง เอตัง สะระณะมุตตะมัง
เอตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะเย
ยะถาพะลัง จะเรยยาหัง สัมมาสัมพุทธะสาสะนัง
ทุกขะนิสสะระณัสเสวะ ภาคี อัสสัง (หญิงว่า ภาคินิสสัง) อะนาคะเต
(เสร็จพิธีตอนเช้าเพียงเท่านี้)

------------------------------------------------------------------------

ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ ตนเองก็รับประทานอาหารให้เสร็จก่อนเที่ยง, ครั้นถึงเวลาบ่ายหรือเย็น (ประมาณ 15.00 น. หรือสุดแล้วแต่จะนัดกัน) ประชุมกันทำวัตรค่ำ, ถ้ามีพระมาเทศน์โปรด หัวหน้าอุบาสกคุกเข่ากราบพระ 3 ครั้ง กล่าวคำอาราธนาพิเศษ หรือธรรมดา

คำอาราธนาธรรม (พิเศษ)
จาตุททะสี ปัณณะระสี ยา จะ ปักขัสสะ อัฏฐะมี
กาลา พุทเธนะ ปัญญัตตา สัทธัมมัสสะวะนัสสิเม
อัฏฐะมี โข อะยันทานิ สัมปัตตา อะภิลักขิตา
เตนายัง ปะริสา ธัมมัง โสตุง อิธะ สะมาคะตา
สาธุ อัยโย ภิกขุสังโฆ กะโรตุ ธัมมะเทสะนัง
อะยัญจะ ปะริสา สัพพา อัฏฐิกัตวา สุณาตุ ตันติ
หมายเหตุ : วัน 8 ค่ำ ว่า อัฏฐะมี โข... วัน 14 ค่ำ ว่า จาตุททะสี... วัน 15 ค่ำ ว่า ปัณณะระสี...

คำอาราธนาธรรม (ธรรมดา)
พรหฺมา (อ่านว่า พรัม-มา) จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ
กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ
สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา
เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง

เมื่อพระเทศน์จบ ทุกคนพึงให้สาธุการ และ สวดประกาศตนเหมือนภาคเช้า และ สวดคำขอขมาพระรัตนตรัย ว่า
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ (กล่าวครั้งที่ 2 เปลี่ยน พุทเธ เป็น ธัมเม ครั้งที่ 3 เป็น สังเค)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

เมื่อเสร็จพิธีภาคเช้าหรือภาคค่ำแล้ว ก่อนจะกลับบ้าน พึง กล่าวคำลาต่อพระผู้เทศน์ ว่า
หันทะทานิ มะยัง ภันเต อาปุจฉามะ, พะหุกิจจา มะยัง พะหุกะระณียา
พระผู้เทศน์ ถ้ามีพรรษาสูงสุดกว่าองค์อื่นๆ ในที่ประชุมนั้น พึงกล่าวคำอนุญาต แต่ถ้ามีพรรษาน้อย ก็ต้องให้พระองค์ที่มีพรรษาสูงสุดเป็นผู้กล่าวคำอนุญาตว่า ยัสสะทานิ ตุมเห กาลัง มัญญะถะ
ผู้ลาพึงรับว่า สาธุ ภันเต แล้วกราบ 3 ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีบริบูรณ์

ปล.ส่วนมากท่านที่จะรักษาศีลจะไปรักษาที่วัดเป็นส่นมาก เพราะถ้ารักษาที่บ้านก็สามารถรักษาได้ แต่มันอาจจะมีเครื่องกวนใจ ทำให้รำคาญ ไม่ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากครูบาอาจารย์ อาจจะตื่นไม่เป็นเวลาเหมือนอยู่วัด อาจจะมีกิเลสอย่างหยาบมาล่อตาล่อใจหรือกวนโสตประสาทได้
----------------------------------------------------------------------

อุโบสถศีล เป็นศีล สำหรับ


1.ฆราวาสผู้ครองเรือน ซึ่งปรารถนาความสุขอันยอดเยี่ยมในกาลปัจจุบันและอนาคต
2.ผู้สะสมบารมี เพื่อรู้ธรรมเห็นธรรมและบรรลุมรรคผลนิพพาน

ความมหัศจรรย์แห่งอุโบสถศีล
นางเอกุโปสติกาภิกษุณี ออกบวชเมื่ออายุได้ 7 ปี บวชแล้วไม่ทันถึงครึ่งเดือน นางก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ หมดสิ้นอาสวะกิเลส ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
.. หลายคนสงสัยว่า เหตุใดนางจึงได้บรรลุธรรมรวดเร็วอย่างนั้น

นางจึงเล่าประวัติ การเวียนว่ายตายเกิดของนางว่า เมื่อ 91กัปป์ที่ผ่านมา มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกมาแล้ว 7 พระองค์ คือ พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระกกุสันโธพุทธเจ้า พระโกนาคมโนพุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้า และพระโคตมะพุทธเจ้า ของเราในสมัยนี้

ในสมัยพระเจ้าวิปัสสีพุทธเจ้า นางเอกุโปสติกาภิกษุณี เกิดเป็นหญิงรับใช้ของพระเจ้าพันธุมมะ ผู้ครองนครพันธุมดี นางได้เห็นพระเจ้าพันธุมมะ พร้อมด้วยอำมาตย์ ข้าราชบริพาร ทรงสละราชกิจมาสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระ นางคิดว่า อุโบสถศีลนี้ น่าจะเป็นของดีวิเศษ เจ้าฟ้ามหากษัตริย์จึงสนใจสมาทานรักษาเป็นประจำ นางคิดได้ดังนี้ จึงศึกษา และทำใจร่าเริงสมาทานรักษาอุโบสถศีลเป็นประจำทุกวันพระ

ผลของการรักษาอุโบสถศีล ทำให้นางได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ มีวิมานอันสวยงาม มีนางฟ้าแสนนางเป็นบริวาร มีผิวพรรณผุดผ่องดั่งทองคำ มีความงามยิ่งกว่านางฟ้าอื่นๆ ระหว่างที่นาง ยังท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ไม่ว่าจะเกิดในภพใดชาติใด นางจะเป็นผู้ประเสริฐในที่ทุกสถานทุกภพทุกชาติ ได้ที่อยู่อาศัยเป็นเรือนยอดปราสาทมณฑป ได้ดอกไม้เครื่องหอม เครื่องลูบไล้ ของกินของใช้ไม่เคยอดอยาก ภาชนะเครื่องใช้ทำด้วยเงินทองแก้วผลึกแก้วปทุมราช ผ้าไหมผ้าฝ้ายผ้าเปลือกไม้ล้วนแต่งามวิจิตรมีราคาสูง พาหนะ ช้าง ม้า รถ มีครบบริบูรณ์ ทุกอย่างเป็นผลบุญที่เกิดขึ้นจากการรักษาอุโบสถศีลในวันพระของนาง ตลอดเวลา 91กัปป์ นางมิได้ไปเกิดในทุคติภูมิเลย

พระพุทธองค์ตรัสว่า " ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถศีลประกอบด้วยองค์แปดที่บุคคลสมาทานรักษาแล้วย่อมมีผลยิ่งใหญ่ มีอานิสงส์มหาศาล มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งนัก มีผลอานิสงส์แผ่ไพศาลมาก "

อุโบสถศีล เลิศกว่าสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ์

บรรดาคนร่ำรวยที่สุดในโลก มหาเศรษฐี มีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาลเพียงใดก็ตาม ความร่ำรวยเหล่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์แล้ว ย่อมเป็นของเล็กน้อย ทรัพย์สมบัติของเศรษฐีทุกคนในโลกรวมกัน ก็ไม่เท่าทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์

ทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ เมื่อเปรียบเทียบกับผลของการรักษาอุโบสถศีล ย่อมเป็นของเล็กน้อย คือ ไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของผลบุญที่เกิดจากการรักษาอุโบสถศีล
เพราะ สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นสมบัติมนุษย์ เป็นสมบัติหยาบ เป็นความสุขหยาบ ใช้เวลาเสวยอย่างมากไม่เกินร้อยปี แต่ผลของอุโบสถศีล เป็นเหตุให้ได้สมบัติทิพย์ ความสุขก็เป็นทิพย์ด้วย การเสวยสมบัติทิพย์ กินเวลายาวนานเป็นกัปป์เป็นกัลป์ บางทีเป็นนิรันดร์(นิพพานสมบัติ)

ดังนั้น ชาย หญิงทั้งหลาย ผู้ได้สมาทานรักษาอุโบสถศีลย่อมได้ชื่อว่า ทำความดีอันมีความสุข เป็นกำไร ไม่มีคนดีที่ไหนจะติเตียนได้ เมื่อสิ้นชีพไปแล้วย่อมเข้าถึงสวรรค์หกชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง

วิธีการรักษาอุโบสถศีล
เมื่อวันพระเวียนมาถึง ให้ทำความตั้งใจว่า วันนี้เราจะรักษาอุโบสถศีล เป็นเวลาสิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือตั้งแต่เช้าวันพระจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น

เจตนาละเว้นจากความชั่วทางกายวาจานั้นแลคือตัวศีล

โดยปกติ วันพระ อุบาสก อุบาสิกา จะพากันไปสมาทานอุโบสถศีลที่วัด พักอาศัยอยู่ที่วัดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ถ้าไม่ได้ไปวัดก็ให้ทำสมาทานวิรัติ หรือเจตนาวิรัติอุโบสถศีลเอาเอง
สมาทานวิรัติ คือ ตั้งใจสมาทานศีลด้วยตนเอง จะรักษากี่วัน กำหนดเอง เว้นจากข้อห้ามของศีลเสียเองเจตนาวิรัติ คือ เพียงแต่มีเจตนาเว้นจากข้อห้ามที่ใจเท่านั้น ก็เป็นศีลแล้ว ไม่ต้องใช้เสียงก็ได้

สมาทานวิรัติ ดังนี้

เจตนาหัง ภิกขะเว สีลังวันทามิ สาธุ สาธุ สาธุ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระอริยสงฆ์ ตั้งแต่เวลานี้ไปจนถึง... ข้าฯ จะตั้งใจรักษาอุโบสถศีล อันประกอบไปด้วยองค์แปดประการ คือ

1. ปานาติปาตา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการฆ่าสัตว์ คือไมทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป เป็นการลดการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน

2. อทินนาทานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ เป็นการลดการเบียดเบียน ทรัพย์สินของผู้อื่น

3. อพรหมจริยา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการประพฤติอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ คือ ไม่เสพเมถุนล่วงมรรคใดมรรคหนึ่ง (ถ้าไม่แตะต้องกายเพศตรงข้าม และไม่จับของต่อมือกันจะช่วยให้การฝึกสติสัมปชัญญะดียิ่งขึ้น)

4. มุสาวาทา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการพูดปด คือ พูดไม่ตรงกับความจริง

5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดื่มสุราเมรัยของมึนเมาเสียสติ อันเป็นเหตุของความประมาทมัวเมา

6. วิกาลโภชนา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดื่มกินอาหารในเวลาหลังเที่ยงไปแล้วจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น เป็นการลดราคะกำหนัด และลดความง่วงเหงาหาวนอน

7. นัจจคีตวา ทิตตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธวิเลปานะ ธารณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดูละครฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี ทัดทรงดอกไม้ลูบไล้ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทา เครื่องประดับตกแต่งต่างๆ อันปลุกเร้าราคะ กำหนัดให้กำเริบ

8. อุจจา สะยะนะ มะหาสะยะนา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการนั่งนอนเครื่องปูลาด อันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี และวิจิตรงดงามต่างๆ เป็นการลดการสัมผัสอันอ่อนนุ่มน่าหลงไหล อดความติดอกติดใจสิ่งสวยงาม มีกิริยาอันสำรวมระวังอยู่เสมอ
ข้าฯ สมาทานวิรัติ ซึ่งอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ เพื่อจะรักษาไว้ให้ดีมิให้ขาด มิให้ทำลาย สิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เพลาวันนี้ ขอกุศลส่วนนี้ จงเป็นอุปนิสัยเป็นปัจจัยแก่พระนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญ สาธุ

เมื่อวิรัติศีลแล้ว พึงรักษา กาย วาจา เว้นการกระทำ ตามที่ได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณไว้จนสิ้น กำหนดเวลา พยายามรักษากาย วาจา มั่นอยู่ในศีล อย่าให้ศีลข้อใดข้อหนึ่งขาด หรือทะลุด่างพร้อยมัวหมอง ถ้ากระทำบ่อยๆ และต่อเนื่องยาวนาน ศีลจะอบรมจิตใจให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ สมาธิจะอบรมปัญญาให้แก่กล้า สามารถรู้ธรรมเห็นธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานได้..

ปัญหา ในการรักษาศีล 8

คือ กลัวไม่ได้กินอาหารเย็น กลัวหิว กลัวเป็นโรคกระเพาะ กลัวรักษาศีลไม่ได้แล้วจะยิ่งบาปที่จริงแล้ว ผู้รักษาศีล 8 สามารถรับประทาน

น้ำปานะ คือ น้ำที่ทำจากผลไม้ ขนาดเล็กเท่าเล็บเหยี่ยว ขนาดใหญ่ไม่เกินส้มโอตำ หรือ คั้นผสมน้ำกรองด้วยผ้าขาวบางให้ดี 8 ครั้ง ผสมเกลือและน้ำตาล พอได้รส หรือ รับประทานเภสัช 5 อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย(น้ำตาล)
นอกจากนี้ยังรับประทานสิ่งที่เป็นยาวชีวิก ได้โดยไม่จำกัดกาล คือ รับประทานเป็น
ยาได้แก่ รากไม้ เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะใคร้ ว่านน้ำ แฝก แห้วหมู
น้ำฝาด เช่น น้ำฝาดสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม ใบกะเพราหรือแมงลัก ใบฝ้าย ใบชะพลู ใบบัวบก ใบส้มลมผลไม้ เช่น ลูกพิลังกาสา ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลแห่งโกฐ รวมยางไม้จากต้นหิงค์และเกลือต่างๆ


อุโบสถศีล กับการภาวนา

การภาวนา คือ การฝึกอบรมจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ถูกกับจริตนิสัย ด้วยอิริยาบทเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การทำความเพียรให้ ทำให้มากๆ จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เรียกว่า อธิจิต อธิจิต จะมีพลังอันยิ่งใหญ่เป็นอธิปัญญา คือ มีญาณ ฌาน เกิดขึ้น

อธิปัญญา คือปัญญาอันยิ่งใหญ่เหนือปัญญาของมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดา วิชชา 3 อภิญญา 6 ปฏิสัมภิทา 4 ความรู้พิเศษจะเกิดขึ้น ทำให้รู้ธรรมเห็นธรรม อย่างละเอียดลึกซึ้ง จะเชื่อกรรมและเชื่อผลของกรรม รู้เห็นความเป็นไปของหมู่สัตว์ในภพทั้งสาม

และแยกแยะได้ว่า อะไรเป็นบาป อะไรเป็นบุญ อะไรคุณ อะไรโทษ อะไรประโยชน์ อะไรไม่ใช่ประโยชน์ อะไรควรละเว้น อะไรควรทำ ที่ไหนควรไป ที่ไหนไม่ควรไป อะไรดี อะไรชั่วรู้จนหมดสิ้น สามารถละเว้นไม่ทำบาปทั้งปวง สามารถทำกุศลให้ถึงพร้อม และสามารถทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาได้ ตามควรแก่ฐานะของตน

ปกติอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันนี้กำหนดเอาวันพระ
คือวัน ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม

ศีลอุโบสถนั้นเป็น ศีลรวม หรือ ศีลพวง คือมีองค์ประกอบถึง ๘ องค์ ถ้าขาดไปองค์ใดองค์
หนึ่งก็ไม่เรียกว่า ศีลอุโบสถ ตามพุทธบัญญัติ เพราะฉะนั้นการล่วงศีลอุโบสถเพียงข้อใดข้อเดียว ก็ถือว่า
ขาดศีลอุโบสถ เพราะเหลือศีลไม่ครบองค์ของอุโบสถศีล พูดง่ายๆว่าขาดศีลองค์เดียว ขาดหมดทั้ง ๘ องค์
ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลจึงต้องสำรวมระวัง กาย วาจา เป็นพิเศษ


อุโบสถศีลที่ประกอบด้วยองค์ ๘ มีดังนี้
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
๒. อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. อพรหมจริยา เวรมณี งดเว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. มุสาวาทา เวรมณี งดเว้นจากการกล่าวเท็จ
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๖. วิกาลโภชนา เวรมณี งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
๗. นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนมาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี
งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล ลูบทาทัด
ทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาอันเป็นฐานะ
แห่งการแต่งตัว
๘. อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี งดเว้นจากการนั่ง และการนอนบนที่นอนสูงใหญ่


อุโบสถศีลอันมีองค์ ๘ นี้ องค์ที่ ๑-๒-๔-๕ เหมือนศีลข้อ ๑-๒-๔-๕ ของศีล ๕ ที่แปลกกัน
คือข้อ ๓

ศีล ๕ นั้น ข้อ ๓ ให้เว้นจากการประพฤติผิดประเวณีในผู้ที่มิใช่คู่ของตน แต่ถ้าเป็นคู่ครอง
ของตนแล้วไม่ห้าม แต่ศีลข้อ ๓ ของอุโบสถศีลนั้น ให้งดเว้นจากการเสพประเวณีโดยเด็ดขาด แม้ใน
คู่ครองของตนเอง จึงจะชื่อว่า พรหมจริยา คือ ประพฤติอย่างพรหม

ส่วนที่เพิ่มเข้ามาคือ ศีลข้อ






หมวด: บทความ
»การทำทาน
23-02-2018
»การพิจารณาเวทนาในเวทนาในชีวิตประจำวัน
23-02-2018
»เมื่อมีศีลดี
23-02-2018
»คำอวยพรส่งมาทางไลน์
23-02-2018
»สาระจากการบิณฑบาต และการใส่บาตร
06-04-2016
»เราเคยฟังแต่ไม่รู้จักชื่อ เพลงพม่าประเทศ
03-04-2016
»ตัดสินคดีโกงในสมัยโบราณ
31-03-2016
»ทำไมต้องเซลฟี้ (Selfie)
05-01-2015
»ยุคตัวกู ของกู
22-12-2014
»การลบ facebook ออกจากชีวิต
19-12-2014
»30 วิธีเจ๋ง แบบสบายๆ
21-10-2014
»ทำบุญด้วยถังเหลือง ไม่ใช่สังฆทาน
30-07-2014
»อันตราย! ใช้ ทิชชู ซับน้ำมันอาหาร เจอสารก่อมะเร็ง-โซดาไฟ
02-07-2014
»ม.ขอนแก่นทำได้ ก้าวแรกทำน้ำมันดิบจากใบอ้อย
14-06-2014
»เครื่องไฟฟ้าในบ้านกินไฟอย่างไรมาดูกัน
24-05-2014
»ฝนฟ้าคะนอง เล่นเน็ต โทรศัพท์ ระวังฟ้าผ่า
13-05-2014
»ชักนำต่างชาติเขาฮุบที่ทำกินชาวนา
25-03-2014
»สุดยอดข้อมูลประเทศไทยกับ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล
15-02-2014
»เรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
08-02-2014
»โรคใหม่จากการสูบบุหรี่
18-02-2014
»อะไรเอ่ย ลองทายดูซิ ก่อนอ่าน นะครับ
23-01-2014
»polar vortex คืออะไร
23-01-2014
»นักวิจัยชี้สารสกัดจากผลไม้ในอาหารเสริมได้ประโยชน์จริง
21-01-2014
»กินผักผลไม้วันละครึ่งกิโล ลดมะเร็ง50%
19-01-2014
»วันครู ปี 2557
19-01-2014
»เพาะถั่วงอกในขวดน้ำดื่ม(เก่า)
19-01-2014
»ทำได้อย่างนี้หนุ่มตลอดกาล
19-01-2014
»มะเร็ง ที่มากับอาหารจากกล่องโฟม
13-12-2014
»อ่านแล้วจึงรู้ว่า ที่รู้มานั้นยังรู้ไม่หมดจริง...
13-12-2014
»ไลฟ์สไตล์มรณะ ทั้ง 14 ประการ
13-12-2014
»กินผลไม้ก่อนอาหารรักษามะเร็งได้
13-12-2014
»คนไป ชุมนุมไล่รัฐบาลทรราช ทำตามรัฐธรรมนูญ
13-12-2014
»โรคไมเกรน
13-12-2014
»วีดิโอสาระเพื่อบ้านเมือง มันส์มาก
13-12-2014
»รถยนต์ติดแก๊สควรตรวจสอบอะไรบ้าง
13-12-2014
»แบคไฟร์ในรถยนต์ติดแก๊ส
13-12-2014
»นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ระวังโรค CVS
13-12-2014
»5 เคล็ดลับบอกลาโรคเบาหวาน
13-12-2014
»เรื่องถังเช่า (อีกที)
02-04-2016
»4 เป้าหมายช่วยให้เลิกสูบบุหรี่
13-12-2014
»ปวดศีรษะจากความเครียด จนถึงดึงเส้นผมเพื่อบรรเทาปวด
13-12-2014
»เก็บผลไม้ป่าต่างแดน บลูเบอร์รี่
13-12-2014
»กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 90 และมีฝนตกหนักบางแห่ง
13-12-2014
»ดูกันชัด ๆ หวู๋ติ๊บถล่ม ไทยวันนี้ พรุ่งนี้ และมะรืนนี้
01-10-2013
»น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ ในปี 2556
28-09-2013
»เขื่อนแม่วงก์
29-09-2013
»สรรพคุณ พริกไทย
29-09-2013
»เกลือบ่อดินอันตราย
16-09-2013
»ศึกษาเฉพาะกรณีธรรมกาย" โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
14-09-2013
»ถังเช่า (เพียงอยากให้รู้)
14-09-2013
»ถั่วงอก เรื่องน่ารู้
07-09-2013
»ข้าวพันธุ์ลืมผัว
07-09-2013
»กดจุดหายปวด บำบัดอาการปวดผู้ทำงานนั่งนานๆ
05-09-2013
»บุญเดือนเก้า ห่อข้าวประดับดิน
05-09-2013
»ดีปลี ยาพื้นบ้านไทย ที่ควรรู้จัก
04-09-2013
»ดิจิตอลทีวี คืออะไร
27-08-2013
»วันเดียว เที่ยว 3 ประเทศ ข้ามโขงสะพานไทยลาวแห่งที่ 3 ที่นครพนม
23-08-2013
»แม่น้ำโขง
11-08-2013
»ถนอมแบตเตอรี่สมาร์ทโฟน
10-08-2013
»แกรนด์ แคนยอน ฟ้าผ่าปีละหลายหมื่นครั้ง! อยู่ที่แจ้ง รู้เอาตัวรอด
30-07-2013
»หลวงพ่อชาตอบปัญหาการกินเจกับกินเนื้อ
17-07-2013
»วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา
17-07-2013
»โน๊ตบุ๊ค สะดวกแต่เสี่ยงโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ
04-07-2013
»มะตูมซาอุ
23-06-2013
»มะตูมซาอุ
23-06-2013
»ตกใจไหม ถ้าบอกว่า "น้ำตาลคือสารเสพติด"
24-02-2013
»ตำนานพระอินทร์ (พระอินทร์ในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์)
05-02-2015
»เรื่องจิต หรือ ใจ
19-01-2013
»วันครู
14-01-2013
»เซียงกง คืออะไร มาจากไหน
03-01-2013
»ทำบุญตักบาตรพระ อาจได้บาป เพราะอะไร เชิญทางนี้
03-01-2013
»ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่
03-01-2013
»กระดูกพรุนศัตรูผู้สูงวัย โดยเฉพาะผู้หญิงเสี่ยงมากที่สุด
03-01-2013
»การฉีดวัคซีนโรคคอตีบ
03-01-2013
»การสร้างบุญบารมี
03-01-2013
»ธรณีสูบ ตั้งแต่พุทธกาลมาจนถึงสมัยปัจจุบัน
03-01-2013
»ที่มาของการสวดภาณยักษ์
03-01-2013
»วันมาฆะบูชา
03-01-2013
»ประเมินตนเองบ้าง
03-01-2013
»ตำนานเทวเกษียรสมุทร มีคนอ้างว่าเป็นที่มาของเหล้า
03-01-2013
»แพทย์เตือนดื่มสนุกทุกข์ถนัด
03-01-2013
»สุดยอดอาหารเพื่อ "สุขภาพสมอง"
03-01-2013
»การใช้และบำรุงรักษาแบตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค
03-01-2013
»เนื่องจากคำทำนายของเด็กชายปลาบู่
03-01-2013
»มณีกัณฐชาดก ขอในสิ่งที่ไม่ควรขอ
03-01-2013
»เทคโนโลยียานพาหนะในยุคน้ำท่วม
03-01-2013
»จากบั้งไฟพญานาค ถึง พญานาค
03-01-2013
»เนื่องจากซองกฐิน
03-01-2013
»ปัญหาเรื่องไวรัส หน้าจอฟ้า ไอค่อนหายหมด
03-01-2013
»คลิปยูเอฟโอ ล่าสุดมีผู้อ้างว่าถ่ายได้
03-01-2013
»การกระตุ้นสมอง ทำให้เกิดความจำดี
02-04-2016
»เตือน พวงมาลัยดอกมะลิ ริมทางอันตรายสารพิษอื้อ!
03-01-2013
»พบสารไล่ยุงในต้นตีนเป็ด
03-01-2013
»ความเป็นมาการถวายผ้าอาบน้ำฝน
03-01-2013
»มักกะลีผล
03-01-2013
»ยอดภูเขาทอง วัดสระเกษ ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
10-01-2014
»แผนที่ธรรม
11-01-2013
»เทศนาจากหลวงปู่โต พรหมรังสี
03-01-2013
»วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
10-01-2013
»เกร็ดความรู้ในการรักษาศีล
03-01-2013
»5 ศุกร์ 5 เสาร์ 5 อาทิตย์ในเดือนกรกฎคม 2554
03-01-2013
»แมงมุม ที่มีพิษทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวสี่ชั่วโมง
03-01-2013
»ชาเขียวต้านโรค
03-01-2013
»แว่นกันแดดตอน ฝนตก มองเห็นชัด 90%
03-01-2013
»การนอนกลางวันช่วยลดความเครียด จึงลดความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
03-01-2013
»อารมณ์ดี แต่สมองไม่ค่อยจำ
03-01-2013
»จิตรกรกับเทพธิดา
03-01-2013
»โอกาสหรือวิกฤติที่ไทยยังไม่มี 3G
03-01-2013
»สำรวจพบ8อาชีพ มีเงินเดือนเกินแสน นักบินรายได้สูงสุด
03-01-2013
»ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรง
03-01-2013
»ชลอความเสื่อมของร่างกายทำอย่างไร ยีน มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร
03-01-2013
»เกิดอะไรขึ้นเมื่อมีแผ่นดินไหว
03-01-2013
»เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ควรทำอย่างไร
03-01-2013
»ตำนานพระพุทธรูปปางนาคปรก
02-04-2016
 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม


คุณครู.คอม ขอแสดงเจตนาว่าทุกข้อความใน เว็บไซต์นี้ให้คัดลอกได้
ไม่จำกัด เพื่อเป็นวิทยาทาน เพื่อการศึกษาเท่านั้น . .

email  [email protected]


kkwebv56   Copyright©2023 kunkroo.com
Development from SMEweb 1.5f By คุณครู.คอม