คุณครู.คอม
.









Online: 35 user(s)

ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ 2541





kunkroo radio

ตรวจสอบแทรคไปรษณีย์ไทย

domain register Admin Only

ทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต

ตรวจสอบไอพี(IP check for locate)

..
     


    :  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม
หมวด: สาระจากพระพุทธศาสนา
เมื่อพญานาคอยากเป็นมนุษย์
04-01-2013 เข้าชมแล้ว: 10203

อรรถกถา สังขปาลชาดก


ว่าด้วย สังขปาลนาคราชบำเพ็ญตบะ
               พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภอุโบสถกรรม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อริยาวกาโสสิ ดังนี้.
               ความพิสดารว่า คราวนั้น พระบรมศาสดาทรงยังอุบาสกทั้งหลายผู้รักษาอุโบสถให้ร่าเริงแล้วตรัสว่า โบราณบัณฑิตทั้งหลายละนาคสมบัติอันใหญ่แล้ว เข้าจำอุโบสถเหมือนกัน อุบาสกเหล่านั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้.
               ในอดีตกาล พระเจ้าแผ่นดินมคธเสวยราชสมบัติในพระนครราชคฤห์.
               ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงบังเกิดในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสีของพระราชานั้น พระชนกชนนีทรงขนานพระนามว่า ทุยโยธนกุมาร เธอเจริญวัยแล้วไปเรียนสรรพศิลปศาสตร์ในเมืองตักกศิลา กลับมาแสดงศิลปะถวายพระราชบิดา ต่อมาพระราชบิดาจึงอภิเษกพระกุมารไว้ในราชสมบัติ แล้วผนวชเป็นพระฤาษีอยู่ในพระราชอุทยาน พระโพธิสัตว์ได้เสด็จไปยังสำนักของพระราชบิดาวันละ ๓ ครั้ง ลาภสักการะใหญ่เกิดขึ้นแก่พระราชฤาษี.
               พระราชฤาษีไม่สามารถจะทำแม้เพียงกสิณบริกรรมได้ด้วยความกังวลนั้น จึงทรงดำริว่า ลาภสักการะของเรามากมาย เราอยู่ที่นี่ไม่สามารถจะตัดรกชัฏนี้ได้ เราจักไม่บอกลาพระโอรสไปเสียในที่อื่น. พระราชฤาษีไม่บอกให้ใครๆ รู้ เสด็จออกจากสวน ดำเนินล่วงมคธรัฐเข้าไปอาศัยจันทกบรรพต ทำบรรณศาลาอยู่ ณ ที่นั้น ในสถานที่พอไปมาได้ แต่แม่น้ำกัณณเวณณาอันไหลออกจากลำน้ำชื่อสังขปาละ เขตมหิสกรัฐ กระทำกสิณบริกรรม ยังฌานและอภิญญาให้ บังเกิดแล้ว ดำรงชีพด้วยการเที่ยวขอเลี้ยงชีพ.
               นาคราชชื่อสังขปาละออกจากกัณณเวณณานทีพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก เข้าไปหาพระราชฤาษีนั้นเป็นครั้งคราว พระราชฤาษีก็แสดงธรรมแก่พญาสังขปาลนาคราชนั้น.
               ต่อมา พระราชโอรสของพระราชฤาษีนั้นอยากจะทรงพบพระชนก แต่ไม่ทราบสถานที่เสด็จไป จึงโปรดให้เที่ยวติดตาม ทรงทราบว่าประทับอยู่ในสถานที่ชื่อโน้น ก็เสด็จไป ณ ที่นั้น พร้อมด้วยข้าราชบริพารมากมาย เพื่อทรงเยี่ยมเยียนพระราชฤาษี รับสั่งให้ตั้งค่าย ณ ที่ส่วนหนึ่ง พร้อมด้วยอำมาตย์สองสามคน เสด็จมุ่งหน้าต่ออาศรมสถาน
               ขณะนั้น สังขปาลนาคราชกำลังนั่งฟังธรรมอยู่กับบริวารจำนวนมาก เหลือบเห็นพระราชาเสด็จมา จึงไหว้พระฤาษีลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป พระราชาถวายบังคมพระบิดา ทรงทำปฏิสันถาร ประทับนั่งแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นั่นพระราชาที่ไหนเสด็จมายังสำนักของพระคุณท่าน
               ตรัสตอบว่า ลูกรัก นั่นคือพญาสังขปาลนาคราช


               ทรงเกิดความโลภในนาคพิภพ เพราะอาศัยสมบัติของพญานาคราชนั้น ประทับอยู่สองสามวัน โปรดให้จัดภิกษาหารถวายพระราชบิดาเป็นประจำ แล้วเสด็จกลับยังพระนครของพระองค์ทีเดียว โปรดให้สร้างโรงทานไว้ในทิศทั้ง ๔ ยังสกลชมพูทวีปให้เอิกเกริก ทรงบริจาคทาน รักษาศีล ทำการรักษาอุโบสถกรรม ปรารถนานาคพิภพ
               ในที่สุดแห่งพระชนมายุ ก็ได้ไปบังเกิดเป็นพญาสังขปาลนาคราชในนาคพิภพ เมื่อล่วงผ่านเลยไป เธอเป็นผู้เดือดร้อนรำคาญในสมบัตินั้น นับแต่นั้นมา ก็ปรารถนากำเนิดมนุษย์อยู่รักษาอุโบสถกรรม เมื่อพญาสังขปาลนาคราชอยู่ในนาคพิภพ คราวนั้นการอยู่รักษาอุโบสถไม่สำเร็จผล ย่อมถึงศีลพินาศ.
               จำเดิมแต่นั้น ท้าวเธอจึงออกจากนาคพิภพไปขดวงล้อมจอมปลวกแห่งหนึ่ง ในระหว่างทางใหญ่ และทางเดินเฉพาะคนๆ เดียว ไม่ห่างแม่น้ำกัณณเวณณานที อธิษฐานอุโบสถ เป็นผู้มีศีลอันสมาทานแล้ว สละตนในทานมุขว่า ชนทั้งหลายผู้มีความต้องการด้วยหนังและเนื้อเป็นต้นของเรา จงนำหนังและเนื้อเป็นต้นไปเถิด แล้วนอนอยู่บนยอดจอมปลวก บำเพ็ญสมณธรรม อยู่รักษาอุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ แล้วไปสู่นาคพิภพในวันปาฏิบท.
               วันหนึ่ง เมื่อพญานาคราช สมาทานศีลนอนอยู่อย่างนี้ มีชาวปัจจันตคาม ๑๖ คน คิดกันว่า พวกเราจักไปหาเนื้อมามีอาวุธครบมือ เที่ยวไปในป่า เมื่อไม่ได้อะไรก็กลับออกมา พบพญานาคราชนั้นนอนอยู่บนจอมปลวก คิดกันว่า วันนี้พวกเราไม่ได้แม้แต่ลูกเหี้ย พวกเราจักฆ่าพญานาคราชนี้รับประทาน แล้วคิดต่อไปว่า นาคราชนี้ใหญ่โต เมื่อถูกจับคงจะหนีไปเสียจักต้องเอาหลาวแทงที่ขนดทั้งๆ ที่ยังนอนทีเดียว ทำให้หมดกำลังแล้วคงจับเอาได้ ต่างถือหลาวเป็นต้นเข้าไปใกล้ร่างกายแม้ของพระโพธิสัตว์ขนาดเท่าเรือโกลนลำใหญ่ลำหนึ่ง เช่นเดียวกับพวงมะลิอันบุคคลวงตั้งไว้ นาคราชนั้นประกอบด้วยนัยน์ตาคล้ายเมล็ดมะกล่ำ ศีรษะเช่นกับดอกชัยพฤกษ์และดอกมะลิย่อมงามเกินที่จะเปรียบได้.
               ด้วยเสียงฝีเท้าของคนทั้ง ๑๖ คน พญานาคจึงโผล่ศีรษะออกจากวงขนด ลืมดวงตาอันแดงมองเห็นคนเหล่านั้น มีมือถือหลาวเดินมา จึงคิดว่า วันนี้มโนรถของเราจักถึงที่สุด เรามอบตนในทานมุขแล้วจึงนอนอธิษฐานความเพียร เราจักไม่ลืมตาดูคนเหล่านี้เอาหอกทิ่มแทงสรีระของเราทำให้เป็นช่องน้อยช่องใหญ่ ด้วยอำนาจความโกรธ เพราะกลัวศีลของตนจะทำลายจึงอธิษฐานมั่นคง สอดศีรษะเข้าไปในวงขนดนอนอยู่อย่างเดิม.
               ครั้นคนเหล่านั้นเข้ามาใกล้แล้ว จึงจับหางพญานาค กระชากให้ตกลงภาคพื้น เอาหลาวอันคมแทงที่ขนดแปดแห่ง สอดหวายดำมีหนามเข้าไปตามช่องที่แทง เอาคานสอดในที่ทั้งแปดแล้ว พากันเดินทางกลับหนทางใหญ่
               พระมหาสัตว์นับแต่ถูกแทงด้วยหลาว ก็มิได้ลืมตาดูคนเหล่านั้น ด้วยอำนาจความโกรธ แม้ในที่แห่งเดียว เมื่อถูกเขาเอาคานทั้งแปดหามไป ศีรษะก็ห้อยลงกระทบพื้น ลำดับนั้น คนเหล่านั้นพูดกันว่า ศีรษะของพญานาคห้อยลง จึงให้นอนในทางใหญ่ เอาหลาวเล็กแทงที่ช่องจมูก แล้วเอาเชือกร้อย แล้วยกศีรษะพาดที่ปลายคาน ช่วยกันยกขึ้น เดินทางต่อไปอีก.
               ขณะนั้น กุฏุมพีชื่ออาฬาระ ชาวเมืองมิถิลา เขตวิเทหรัฐ นั่งบนยานอันสบาย พาเกวียน ๕๐๐ เล่มเดินทางผ่านไป เห็นลูกบ้านชาวปัจจันตคามกำลังหามพระโพธิสัตว์เดินไปอย่างนั้น จึงให้มาสกทองคนละซองมือ กับโคพาหนะ ๑๖ ตัวแก่คนทั้ง ๑๖ คน และให้ผ้านุ่งผ้าห่มแก่คนเหล่านั้นทุกคน ทั้งให้ผ้าผ่อนและเครื่องประดับแม้แก่ภรรยาของคนเหล่านั้น ขอร้องให้ปล่อยพญานาคไป.
               พญานาคไปยังนาคพิภพ มิได้มัวโอ้เอ้อยู่ในนาคพิภพเลย ออกไปหาอาฬารกุฏุมพีพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก กล่าวคุณของนาคพิภพแล้ว เชิญกุฏุมพีนั้นไปยังนาคพิภพ
        นาคพิภพนั้นสมบูรณ์ด้วยภูมิภาค ภาคพื้นไม่มีกรวด อ่อนนุ่ม งดงาม มีหญ้าเตี้ยๆ ไม่มีละอองธุลี นำมาซึ่งความเลื่อมใส ระงับความโศกของผู้ที่เข้าไป.
               ในนาคพิภพนั้นมีสระโบกขรณีอันไม่อากูล เขียวชอุ่มดังแก้วไพฑูรย์ มีต้นมะม่วง น่ารื่นรมย์ทั้ง ๔ ทิศ มีผลสุกกึ่งหนึ่ง ผลอ่อนกึ่งหนึ่ง เผล็ดผลเป็นนิตย์(ออกผลตลอดกาล).
        ประทานยศใหญ่พร้อมด้วยนางนาคกัญญาสามร้อยแก่กุฏุมพีนั้น ให้อิ่มหนำสำราญด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์
               อาฬารกุฏุมพีอยู่บริโภคกามอันเป็นทิพย์ในนาคพิภพ สิ้นเวลาประมาณหนึ่งปี แล้วบอกพญานาคว่า สหาย เราปรารถนาจะบวช รับเอาบริขารบรรพชิตแล้วไปจากนาคพิภพ บวชอยู่ในหิมวันตประเทศสิ้นกาลนาน
               ต่อมาจึงเที่ยวจาริกไปจนถึงเมืองพาราณสี พักอยู่ในพระราชอุทยาน รุ่งขึ้นเข้าไปยังพระนครเพื่อภิกษาจาร ได้ไปสู่ประตูพระราชวัง ครั้งนั้น พระเจ้าพาราณสีทอดพระเนตรเห็นอาฬารดาบสนั้นแล้ว
        ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถ จึงรับสั่งให้นิมนต์มา ให้นั่งเหนือปัญญัตตาอาสน์ ให้ฉันโภชนะมีรสเลิศต่างๆ แล้วประทับนั่งบนอาสนะตำแหน่งหนึ่ง ทรงนมัสการ เมื่อจะทรงปราศรัยกับดาบสนั้น ตรัสคาถาที่ ๑ ความว่า ----
               ท่านเป็นผู้มีรูปร่างงดงาม มีดวงตาแจ่มใส ข้าพเจ้าสำคัญว่า ท่านผู้เจริญคงบวชจากสกุล ไฉนหนอท่านผู้มีปัญญาจึงสละทรัพย์ และโภคสมบัติ ออกบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า

               อาฬารดาบสทูลว่า
               ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นจอมนรชน อาตมภาพได้เห็นวิมานของพญาสังขปาลนาคราช ผู้มีอานุภาพมากด้วยตนเอง ครั้นเห็นแล้ว จึงออกบวชโดยเชื่อมหาวิบากของบุญทั้งหลาย.

               พระราชาตรัสว่า
               บรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่กล่าวคำเท็จ เพราะความรัก เพราะความกลัว เพราะความชัง ข้าพเจ้าถามท่านแล้ว ขอท่านได้โปรดบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าได้ฟังแล้ว จักเกิดความเลื่อมใส.

               อาฬารดาบส ทูลว่า
               ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นอธิบดีในรัฐมณฑล อาตมภาพเดินทางไปค้าขาย ได้เห็นบุตรนายพรานช่วยกันหามนาคผู้มีร่างกายใหญ่โต เดินร่าเริงไปในหนทาง.
               ดูก่อนพระจอมประชานิกร อาตมภาพมาประจวบเข้ากับลูกนายพรานเหล่านั้น ก็กลัวจนขนลุกขนพอง ได้ถามเขาว่า ดูก่อนพ่อบุตรนายพราน ท่านทั้งหลายจะนำงูซึ่งมีร่างกายน่ากลัวไปไหน ท่านทั้งหลายจักทำอะไรกับงูนี้.

               เขาพากันตอบว่า
               งูใหญ่ พวกเรานำไปเพื่อจะกิน เนื้อของมันมีรสอร่อยมันและอ่อนนุ่ม ดูก่อนท่านผู้เป็นบุตรชาววิเทหรัฐ(พ่อค้า) ท่านยังมิได้เคยลิ้มรส.
               เราทั้งหลายไปจากที่นี่ ถึงบ้านของตนแล้ว จะเอามีดสับกินเนื้อกันให้สำราญใจ เพราะว่าเราทั้งหลายเป็นศัตรูของพวกงู.

               อาตมภพจึงพูดว่า
               ถ้าท่านทั้งหลายจะนำงูใหญ่มีกายอันใหญ่นี้ ไปเพื่อกิน ครั้นบุตรนายพรานเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพได้ให้โคมีกำลัง ๑๖ ตัว เครื่องนุ่งห่ม ทรัพย์คนละร้อยๆ ทองคำหนึ่งมาสกแก่บุตรนายพรานเหล่านั้น และผ้ากับเครื่องประดับแก่ภรรยาทั้งหลายของบุตรนายพรานเหล่านั้น.  ขอให้ปล่อยงูนี้เสียจากเครื่องผูกเถิด.

               พวกเขาตอบว่า
               ความจริง งูตัวนี้เป็นอาหารที่ชอบใจของเราทั้งหลายโดยแท้ และเราทั้งหลายเคยกินงูมามาก ดูก่อนนายอาฬาระผู้เป็นบุตรชาววิเทหรัฐ เราทั้งหลายจักทำตามคำของท่าน ดูก่อนท่านผู้เป็นบุตรของชาววิเทหะ แต่ว่าท่านจงเป็นมิตรของเราทั้งหลาย.

           
        ลำดับนั้น บุตรนายพรานเหล่านั้นให้พญาสังขปาลนาคราชนอนลงบนภาคพื้น เพราะความกักขฬะของตน พากันเอาเถาหวายดำซึ่งพราวไปด้วยหนามเกี่ยว เริ่มฉุดลากปลายหางมา
               ทีนั้น อาตมภาพเห็นนาคราชลำบาก เมื่อจะไม่ให้ลำบาก จึงเอาดาบตัดเถาวัลย์เหล่านั้นค่อยๆ นำออกมิให้ลำบาก โดยทำนองที่เด็กๆ คลายเกลียวจากผ้าโพกที่มุมในเวลานั้น บุตรนายพรานเหล่านั้นสอดเครื่องผูกผ่านช่องจมูก แล้วร้อยเข้าในบ่วง เพราะฉะนั้น จึงพากันแก้พญานาคจากเครื่องผูกนั้น.
               บุตรนายพรานเหล่านั้น ครั้นปล่อยนาคราชอย่างนี้แล้ว เดินไปได้หน่อยหนึ่ง ก็พากันแอบปรึกษากันว่า นาคนี้ทุรพลภาพแล้ว ในเวลามันตายแล้ว เราจักหามเอาไปกิน.
        นาคราชได้พ้นจากเครื่องผูกซึ่งเขาร้อยไว้ที่จมูกกับบ่วงนั้น แล้วบ่ายหน้าตรงไปทิศปราจีน หลีกไปได้ครู่หนึ่ง.
               ครั้นบ่ายหน้าตรงไปทิศปราจีนได้สักครู่หนึ่ง มีดวงตาเต็มไปด้วยน้ำตา เหลียวมาดูอาตมภาพ อาตมภาพได้ตามไปข้างหลังของนาคราชในคราวนั้นประคองอัญชลีทั้ง ๑๐ นิ้วเตือนว่า
               ท่านจงรีบไปเสียโดยเร็ว ขอพวกศัตรูอย่าจับได้อีกเลย เพราะว่าการสมาคมกับพวกพรานบ่อยๆ เป็นทุกข์ ท่านจงไปสถานที่ๆ พวกบุตรนายพรานจะไม่เห็น.
               นาคราชนั้นได้ไปสู่ห้วงน้ำใส มีสีเขียว น่ารื่นรมย์ มีท่าราบเรียบปกคลุมไปด้วยไม้หว้าและย่างทราย เป็นผู้ปลอดภัย มีปีติ เข้าไปยังนาคพิภพ.
               ดูก่อนพระจอมประชานิกร นาคราชนั้นครั้นเข้าไปสู่นาคพิภพแล้ว ไม่ช้าก็มีบริวารทิพย์มาปรากฏแก่อาตมภาพ บำรุงอาตมภาพเหมือนบุตรบำรุงบิดาฉะนั้น พูดจารื่นหู จับใจว่า
               ท่านอาฬาระ ท่านเป็นเหมือนมารดาบิดาของข้าพเจ้า เป็นดังดวงใจ เป็นผู้ให้ชีวิต เป็นสหาย ข้าพเจ้าจึงกลับได้อิทธิฤทธิ์ของตน ข้าแต่ท่านอาฬาระ ขอเชิญท่านไปเยี่ยมนาคพิภพของข้าพเจ้า
        ซึ่งมีภักษาหารมาก มีข้าวและน้ำมากมาย ดังเทพนครของท้าววาสวะฉะนั้น.

             
               บทว่า วิโกฏยิตฺวา ได้แก่ สับ(หรือตัด). บทว่า มยญฺหิ โว สตฺตโว ความว่า ก็พวกเราเป็นศัตรูของนาคทั้งหลาย. บทว่า โภชนตฺถํ ความว่า เพื่อจะบริโภค. บทว่า มิตฺตญฺจ โน โหหิ ความว่า ขอท่านจงเป็นมิตรของพวกเรา รู้คุณที่พวกเรากระทำแล้ว. บทว่า ตทสฺสุ เต ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า ครั้นบุตรนายพรานเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพได้ให้โคมีกำลัง ๑๖ ตัว เครื่องนุ่งห่ม ทรัพย์คนละร้อยๆ ทองคำหนึ่งมาสกแก่บุตรนายพรานเหล่านั้น และผ้ากับเครื่องประดับแก่ภรรยาทั้งหลายของบุตรนายพรานเหล่านั้น.
               ลำดับนั้น บุตรนายพรานเหล่านั้นให้พญาสังขปาลนาคราชนอนลงบนภาคพื้น เพราะความกักขฬะของตน พากันเอาเถาหวายดำซึ่งพราวไปด้วยหนามเกี่ยว เริ่มฉุดลากปลายหางมา
               ทีนั้น อาตมภาพเห็นนาคราชลำบาก เมื่อจะไม่ให้ลำบาก จึงเอาดาบตัดเถาวัลย์เหล่านั้นค่อยๆ นำออกมิให้ลำบาก โดยทำนองที่เด็กๆ คลายเกลียวจากผ้าโพกที่มุมในเวลานั้น บุตรนายพรานเหล่านั้นสอดเครื่องผูกผ่านช่องจมูก แล้วร้อยเข้าในบ่วง เพราะฉะนั้น จึงพากันแก้พญานาคจากเครื่องผูกนั้น. ดาบสหมายความว่า นำเชือกนั้นออกจากจมูกของนาคราชนั้นพร้อมกับบ่วง.
               บุตรนายพรานเหล่านั้น ครั้นปล่อยนาคราชอย่างนี้แล้ว เดินไปได้หน่อยหนึ่ง ก็พากันแอบเสียด้วยคิดว่า นาคนี้ทุรพลภาพ ในเวลามันตายแล้ว เราจักหามเอาไป.
               บทว่า ปุณฺเณหิ ความว่า ฝ่ายนาคราชนั้น บ่ายหน้าสู่ทิศปราจีนไปได้หน่อยหนึ่ง มีดวงตาเต็มไปด้วยน้ำตา มองดูอาตมภาพ. บทว่า ตทสฺสาหํ ตัดบทออกเป็น ตทา อสฺส อหํ ความว่า ครั้งนั้น อาตมภาพตามหลังนาคราชไป.
               บทว่า คจฺเฉว ความว่า อาฬารดาบสกล่าวว่า อาตมาได้กล่าวอย่างนี้กะพญานาคราชนั้น. บทว่า รหทํ ความว่า นาคราชนั้นได้ไปสู่ห้วงน้ำกัณณเวณณานที. บทว่า สมฺโมนตํ ความว่า อันโน้มน้อมไปด้วยต้นชมพู่และต้นอโศกที่ฝั่งทั้งสอง. บทว่า นิตฺติณฺณภโย ปตีโต ความว่า ได้ยินว่า นาคราชนั้นกำลังดูห้วงน้ำอยู่ ได้แสดงความเคารพแด่อาฬารกุฏุมพี โผขึ้นมาจนกระทั่งถึงหาง. สถานที่ซึ่งพญานาคนั้นดำไปๆ ในน้ำนั่นเอง เป็นที่ปลอดภัย เพราะเหตุนั้น นาคราชนั้นจึงเป็นผู้ปลอดภัย พ้นภัย ได้ความร่าเริงยินดีเข้าไป.
               บทว่า ปวิสฺส ความว่า ครั้นเข้าไปแล้ว. บทว่า ทิพฺเพน เม ความว่า มิได้ถึงความประมาทในนาคพิภพ เมื่ออาตมภาพยังไม่เลยฝั่งกัณณเวณณานทีไป พญานาคราชได้มาปรากฏข้างหน้าอาตมภาพ พร้อมด้วยทิพยบริวาร. บทว่า อุปฏฺฐหิ แปลว่า เข้ามาใกล้.
               บทว่า อพฺภนฺตโร ความว่า ท่านเป็นเช่นกับเนื้อหัวใจ. ท่านมีอุปการคุณแก่ข้าพเจ้าเป็นอันมาก ข้าพเจ้าจักทำสักการะแก่ท่าน. บทว่า ปสฺส เม นิเวสนานิ ความว่า เชิญท่านไปชมนาคพิภพของข้าพเจ้า. บทว่า มสกฺกสารํ วิย ความว่า ขุนเขาสิเนรุบรรพต ท่านเรียกว่ามสักกสาระเพราะมีแก่นเป็นแท่งทึบ โดยหาความยุบถอน ย่อหย่อนมิได้ นาคราชหมายเอาดาวดึงส์พิภพ อันตนสร้างไว้ในนาคพิภพนั่นเอง จึงกล่าวข้อนี้.

               ดูก่อนมหาราช นาคราชนั้นครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อจะพรรณนานาคพิภพของตนให้ยิ่งขึ้นไป จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า
               นาคพิภพนั้นสมบูรณ์ด้วยภูมิภาค ภูมิภาคในนาคพิภพนั้นปราศจากหินและกรวด ภูมิภาคนั้นอ่อนนุ่ม งดงาม ล้วนแล้วไปด้วยทองเงินและแก้วมณี เกลื่อนกล่นไปด้วยทรายคือรัตนะเจ็ด มีหญ้าเตี้ยๆ ไม่มีละอองธุลี นำมาซึ่งความเลื่อมใส ระงับความโศกของผู้ที่เข้าไป. ในนาคพิภพนั้นมีสระโบกขรณี ล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ สมบูรณ์ด้วยน้ำ มีสีเขียว ดาดาษไปด้วยดอกบัว และอุบลหลากสี
               ในนาคพิภพนั้นมีสระโบกขรณีอันไม่อากูล เขียวชอุ่มดังแก้วไพฑูรย์ มีต้นมะม่วง น่ารื่นรมย์ทั้ง ๔ ทิศ มีผลสุกกึ่งหนึ่ง ผลอ่อนกึ่งหนึ่ง เผล็ดผลเป็นนิตย์.

               อาฬารดาบส ทูลพระเจ้าพาราณสีต่อไปว่า
               ดูก่อนมหาบพิตรผู้ประเสริฐกว่านรชน ในท่ามกลางสวนเหล่านั้น มีนิเวศน์เลื่อมประภัสสร ล้วนแล้วไปด้วยทองคำ มีบานประตูแล้วไปด้วยเงิน งามรุ่งเรืองยิ่ง ประหนึ่งสายฟ้ารุ่งเรืองอยู่ในกลางหาวฉะนั้น.
               ขอถวายพระพร ในท่ามกลางสวนเหล่านั้น เรือนยอดและห้อง แล้วไปด้วยแก้วมณี แล้วไปด้วยทองคำโอฬารวิจิตร เป็นอเนกประการ เนรมิตด้วยดี ติดต่อกัน เต็มไปด้วยนางนาคกัญญาทั้งหลายผู้ประดับแล้ว ล้วนทรงสายสร้อยทองคำ.
               สังขปาลนาคราชนั้นมีผิวพรรณไม่ทราม ว่องไว ขึ้นสู่ปราสาท มีเสาประมาณพันต้น มีอานุภาพชั่งไม่ได้เป็นที่อยู่ของมเหสีแห่งสังขปาลนาคราชนั้น
               นารีนางหนึ่งว่องไว ไม่ต้องเตือน ยกอาสนะล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ มีค่ามาก งดงาม สมบูรณ์ด้วยแก้ว มีชาติดังแก้วมณีมาปูลาด.
               ลำดับนั้น นาคราชจูงมืออาตมภาพให้นั่งบนอาสนะอันเป็นประธาน กล่าวว่า นี่อาสนะ เชิญท่านนั่งบนอาสนะนี้ เพราะว่าท่านเป็นที่เคารพคนหนึ่งของข้าพเจ้า ในจำนวนท่านที่เคารพทั้งหลาย.
               ดูก่อนพระจอมประชานิกร นารีอีกนางหนึ่งก็ว่องไว ตักเอาน้ำมาล้างเท้าของอาตมภาพ ดุจภรรยาล้างเท้าสามีที่รัก ฉะนั้น.
               มีนารีอีกนางหนึ่งว่องไว ประคองภาชนะทองคำ เต็มไปด้วยภัตตาหารน่าบริโภค มีสูปะหลายอย่าง มีพยัญชนะต่างๆ นำมาให้อาตมภาพ.
               ขอถวายพระพร นารีเหล่านั้นรู้จักใจสามี พากันบำรุงอาตมภาพผู้บริโภคแล้ว ด้วยดนตรีทั้งหลาย นาคราชนั้นก็เข้ามาหาอาตมภาพ พร้อมด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์มิใช่น้อย ใหญ่ยิ่งกว่าการฟ้อนรำนั้น.

               ก็แลครั้นนาคราชนั้น เข้ามาหาอย่างนี้แล้วกล่าว ความว่า
               ข้าแต่ท่านอาฬาระ ภรรยาของข้าพเจ้าทั้ง ๓๐๐ นี้ ล้วนมีเอวอ้อนแอ้น มีรัศมีรุ่งเรือง ดังกลีบปทุม นางเหล่านี้จักเป็นผู้บำรุงบำเรอท่าน ข้าพเจ้าขอยกนางเหล่านี้ให้ท่าน ท่านจงให้นางเหล่านี้บำเรอท่านเถิด.
-----------------
              ที่มาในธรรมบท( บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพตฺตมชฺฌา ความว่า ภรรยาของข้าพเจ้าทั้งหมด มีรูปร่างอ้อนแอ้น อธิบายว่า เอวกลม ขนาดวัดได้ด้วยฝ่ามือ แต่บาลีในอรรถกถาว่า "สุมชฺฌา"
               บทว่า ปทุมุตฺตราภา ได้แก่ มีผิวผุดผาดดังสีแห่งดอกปทุม. อธิบายว่า มีฉวีวรรณดั่งกลีบปทุม. บทว่า ปริจารยสฺสุ ความว่า นาคราชนั้นกล่าวว่า ท่านจงทำนางเหล่านั้นให้เป็นบาทบริจาริกาของตน แล้วมอบมหาสมบัติพร้อมด้วยสตรี ๓๐๐ นางแก่อาตมภาพ.)
-----------------
               อาฬารดาบสนั้นทูลต่อไปว่า
               อาตมภาพได้เสวยรสอันเป็นทิพย์อยู่ปีหนึ่ง คราวนั้นอาตมภาพได้ไต่ถามถึงสมบัติอันยิ่งว่า ท่านพญานาคได้สมบัตินี้ ด้วยอุบายอย่างไร ได้วิมานอันประเสริฐอย่างไร ได้โดยไม่มีเหตุ หรือเกิดเพราะใครน้อมมาให้แก่ท่าน ท่านกระทำเอง หรือว่าเทวดาให้ ดูก่อนพญานาคราช ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนั้นกะท่าน ท่านได้วิมานอันประเสริฐอย่างไร.

             
               สังขปาลนาคราช ตอบว่า
               ข้าพเจ้าได้วิมานนี้มิใช่โดยไม่มีเหตุ และมิใช่เกิดเพราะใครน้อมมาให้ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามิได้ทำเอง แม้เทวดาก็มิได้ให้ ข้าพเจ้าได้วิมานนี้ ด้วยบุญกรรมอันไม่เป็นบาปของตน.

               อาตมภาพถามว่า
               พรตของท่านเป็นอย่างไร และพรหมจรรย์ของท่านเป็นไฉน นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร ที่ท่านประพฤติดีแล้ว ดูก่อนพญานาคราช ขอท่านจงบอกเนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้า ท่านได้วิมานนี้มาอย่างไรหนอ

               พญานาคราชตอบว่า
               ข้าพเจ้าได้เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่กว่าชนชาวมคธ มีนามว่า ทุยโยธนะ มีอานุภาพมาก ได้เห็นชัดว่า ชีวิตเป็นของนิดหน่อยไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา.
               จึงเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ได้ให้ข้าวและน้ำเป็นทานอันไพบูลย์โดยเคารพ วังของข้าพเจ้าในครั้งนั้น เป็นดุจบ่อน้ำ สมณพราหมณ์ทั้งหลายก็อิ่มหนำสำราญในที่นั้น.
               ข้าพเจ้าได้ให้ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ประทีป ยวดยาน ที่พัก ผ้านุ่งห่ม ที่นอน และข้าวน้ำเป็นทานโดยเคารพ ในที่นั้น.
               นั่นเป็นพรตและเป็นพรหมจรรย์ของข้าพเจ้า นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้น ที่ข้าพเจ้าประพฤติดีแล้ว ข้าพเจ้าได้วิมานอันมีภักษาหารเพียงพอ มีข้าวน้ำมากมาย เพราะวัตรและพรหมจรรย์นั้นแล.

               วิมานนี้บริบูรณ์ ด้วยการฟ้อนรำขับร้อง ตั้งอยู่ช้านาน แต่เป็นของไม่เที่ยง

               อาตมภาพจึงถามว่า
               บุตรนายพรานทั้งหลาย ผู้มีอานุภาพน้อย ไม่มีเดช ไยจึงเบียดเบียนท่านผู้มีอานุภาพมาก มีเดชได้ ดูก่อนท่านผู้มีเขี้ยวเป็นอาวุธ เพราะอาศัยอะไรหรือ ท่านจึงถึงความเศร้าหมอง ในอำนาจบุตรนายพรานทั้งหลาย.
               ความกลัวใหญ่ตามถึงท่าน หรือว่าพิษของท่านไม่แล่นไปยังรากเขี้ยว ดูก่อนท่านผู้มีเขี้ยวเป็นอาวุธ เพราะอาศัยอะไรหรือ ท่านจึงถึงความเศร้าในสำนักของบุตรนายพรานทั้งหลาย.

               สังขปาลนาคราช ตอบว่า
               มหันตภัยมิได้ตามถึงข้าพเจ้าเลย ชนพวกนั้นไม่อาจทำลายเดชของข้าพเจ้าได้ แต่ว่าธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ท่านประกาศไว้ดีแล้ว ยากที่จะล่วงได้เหมือนเขตแดนแห่งสมุทร ฉะนั้น.
                สังขปาลนาคราชกล่าวว่า สัตบุรุษเหล่านั้นพรรณนาไว้ว่า บุคคลล่วงได้ยากแม้เพื่อชีวิต ดุจฝั่งมหาสมุทรอันล่วงได้ยากฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ประกอบด้วยขันติ และเมตตา
  เพราะกลัวศีลจะขาด เมื่อข้าพเจ้าขุ่นเคือง ก็มิได้ให้เพื่อจะล่วงละเมิดที่สุดขอบเขตของศีล.
               ก็ด้วยธรรมเทศนาของสังขปาลนาคราชนี้ ย่อมได้บารมีครบ ๑๐ ทัศ คือ
               ๑. ความที่มหาสัตว์สละสรีระในคราวนั้นจัดเป็นทานบารมี.
               ๒. ความที่ศีลมิได้ทำลาย ด้วยเดชคือพิษเห็นปานนั้น จัดเป็นสีลบารมี.
               ๓. การออกจากนาคพิภพ บำเพ็ญสมณธรรม จัดเป็นเนกขัมมบารมี.
               ๔. การจัดแจงว่า ควรทำสิ่งนี้ๆ จัดเป็นปัญญาบารมี.
               ๕. ความเพียรด้วยสามารถแห่งความอดกลั้น จัดเป็นวิริยบารมี
               ๖. ความอดทน ด้วยสามารถแห่งความอดกลั้น จัดเป็นขันติบารมี.
               ๗. การสมาทานความสัตย์ จัดเป็นสัจจบารมี.
               ๘. การอธิษฐานในใจว่า เราจักไม่ทำลายศีลของเรา จัดเป็นอธิฏฐานบารมี.
               ๙. ความเป็นผู้มีความเอ็นดู จัดเป็นเมตตาบารมี.
               ๑๐. ความเป็นผู้วางตนเป็นกลางในเวทนา จัดเป็นอุเบกขาบารมี.

 

               ข้าแต่ท่านอาฬาระ ข้าพเจ้าเข้าจำอุโบสถ ในวันจาตุททสี ปัณณรส (14 ,15 ค่ำ)เป็นนิตย์ ต่อมาพวกบุตรนายพราน ๑๖ คน เป็นคนหยาบช้า ถือเอาเชือกและบ่วงอันมั่นคงมา.
               พรานทั้งหลายช่วยกันแทงจมูก เอาเชือกร้อย แล้วหามข้าพเจ้าไป ข้าพเจ้าอดทนต่อทุกข์เช่นนั้นไม่ทำอุโบสถให้กำเริบ. (อดทนไม่ทำให้ศีลขาด)

               อาตมภาพ ถามว่า
               บุตรนายพรานเหล่านั้น ได้พบท่านผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง และผิวพรรณ ที่ทางเดินคนเดียว ดูก่อนท่านนาคราช ท่านเป็นผู้เจริญด้วยสิริและปัญญา จะบำเพ็ญตบะเพื่อประโยชน์อะไรอีกเล่า

               สังขปาลนาคราช ตอบว่า
               ข้าแต่ท่านอาฬาระ ข้าพเจ้าบำเพ็ญตบะ มิใช่เพราะเหตุแห่งทรัพย์ และมิใช่เพราะเหตุแห่งอายุ เพราะข้าพเจ้าปรารถนากำเนิดมนุษย์ จึงบากบั่นบำเพ็ญตบะ.

               อาตมภาพ ถามว่า
               ท่านเป็นผู้มีนัยน์ตาแดง มีรัศมีรุ่งเรือง ประดับตกแต่งแล้ว ปลงผมและหนวด ชโลมทาด้วยจุรณจันทน์แดง ส่องสว่างไปทั่วทิศ ดุจคนธรรพราชาฉะนั้น.
               ท่านเป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก พร้อมพรั่งไปด้วยกามารมณ์ทั้งปวง ดูก่อนพญานาคราช ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน เหตุไรมนุษยโลก จึงประเสริฐกว่านาคพิภพนี้.

               สังขปาลนาคราช ตอบว่า
               ข้าแต่ท่านอาฬาระ นอกจากมนุษยโลก ความบริสุทธิ์ หรือความสำรวมย่อมไม่มี ถ้าข้าพเจ้าได้กำเนิดมนุษย์แล้ว จักกระทำที่สุดแห่งชาติและมรณะ.

               อาตมภาพ กล่าวว่า
               ข้าพเจ้าอยู่ในสำนักของท่านปีหนึ่งแล้ว เป็นผู้ที่ท่านบำรุงด้วยข้าวด้วยน้ำ ข้าพเจ้าขอลาท่าน ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมนาถะ ข้าพเจ้าจากมนุษยโลกมาเสียนาน.

               สังขปาลนาคราช ตอบว่า
               ข้าแต่ท่านอาฬาระ บุตร ภรรยาและชนบริวาร ข้าพเจ้าพร่ำสอนเป็นนิตย์ให้บำรุงท่าน ใครมิได้แช่ง ด่าท่านแลหรือ เพราะว่าการที่ได้พบท่าน นับว่าเป็นที่พอใจของข้าพเจ้า.

               อาตมภาพ ตอบว่า
               ดูก่อนพญานาคราช บุตรที่รักปฏิบัติบำรุงมารดาบิดาในเรือนเป็นผู้ประเสริฐ แม้ด้วยประการใด ท่านบำรุงข้าพเจ้าอยู่ในที่นี้ เป็นผู้ประเสริฐแม้กว่าประการนั้น เพราะว่าจิตของท่านเลื่อมใสข้าพเจ้า.

               สังขปาลนาคราช กล่าวว่า
               แก้วมณีอันจะนำทรัพย์มาได้ตามประสงค์ของข้าพเจ้ามี






หมวด: สาระจากพระพุทธศาสนา
»บุญข้าวประดับดิน เรียกอีกอย่างว่าเปรตพลี แปลว่าอุทิศให้เปรต วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9
06-09-2021
»อำนาจบุญบวช สวดมนต์ไหว้พระ ทำสมาธิ เดินจงกรม
14-02-2021
»ชาติหน้ามีจริงไหม
26-01-2021
»บัญชีบุญ-บัญชีบาป
24-01-2021
»ถ้าไม่ใช่กรรมที่เราทำมา เราก็จะไม่ได้รับกรรมนั้น
26-01-2021
»คำยืนยันจากหลวงปู่มั่นว่า "พระแก้วมรกต เลือกประเทศไทย" ด้วยเหตุผล 3 ข้อ
24-01-2021
»มนุษย์อยากเป็นเทวดา แต่ เทวดากลับอยากเป็นมนุษย์
11-03-2018
»ทุกข์ทรมารมากกว่าจะได้เกิดเป็นคน
10-03-2018
»อันตรธาน 5
28-02-2018
»มาฆบูชา
28-02-2018
»การไปแสวงบุญที่พุทธสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ได้ไปสวรรค์
10-02-2018
»กรรม 12 ประเภท
10-02-2018
»นาค พญานาค เป็นสัตว์เดรัจฉาน
10-02-2018
»นักแสดง ตายแล้วไปเกิดในนรก หรือกำเนิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน
10-02-2018
»คำว่า อนุโมทนา กับ โมทนา ต่างกันอย่างไร
20-12-2017
»เหตุใดวัดพระแก้วจึงไม่มีพระสงฆ์อยู่
26-10-2017
»ทำไมต้องทำบุญ
05-07-2017
»เจ้าชายสิทธัตถะประสูติแล้ว ดำเนินได้ ๗ ก้าวจริงหรือ
31-05-2017
»เรื่องพระสารีบุตรตอนจะเข้าสู่พระนิพพาน
23-02-2016
»แผนที่ธรรม แสดง 31 ภพ
23-02-2016
»สี่คนหาม สามคนแห่ หนึ่งคนนั่งแคร่ สองคนพาไป คืออะไร
07-12-2015
»"วันนี้วันพระ" วันพระมีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร
18-11-2015
»ติรัจฉานวิชา (ว่าด้วยสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่กระทำ)
07-08-2014
»มหาสุทัสสนสูตร : ข้อเตือนใจคนโลภ
29-07-2014
»อานาปานสติ
09-04-2014
»บัว 4 เหล่า
16-01-2018
»คติ และคติภพ คืออะไรและต่างกันอย่างไร
13-12-2014
»พระเกศา_พระโลหิต'_พระสังฆราชกลายเป็นพระธาตุ
13-12-2014
»สวรรค์ 6 ชั้น
19-01-2021
»พระคาถาธารณปริตร
02-10-2013
»หลวงพ่อชาตอบปัญหาธรรม
17-07-2013
»วันมาฆบูชา
11-02-2014
»พุทธชยันตี
10-01-2013
»พระธรรมเทศนาจากหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
05-01-2013
»ช้างปาเลไลยก์
17-01-2013
»พระกุมารกัสสปะ
05-01-2013
»นางจิญจมาณวิกา นางอมิตตา กลับชาติมาเกิด
05-01-2013
»นางวิสาขา มหาอุบาสิกา
03-04-2016
»นางสิริมา หญิงโสเภณีผู้บรรลุโสดาบัน
05-01-2013
»เอาเงินใส่บาตรพระบาปไหม ที่นี่มีคำตอบ
03-04-2016
»โครงการภาพยนตร์ พุทธศาสดา ชาวพุทธควรชมอย่างยิ่ง
05-01-2013
»ไฟล์เสียงวิธีนั่งสมาธิตอนที่1-5 โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
05-01-2013
»พระสุปฏิปฏิปัณโณ หรือพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
04-01-2013
»พระไตรปิฏก ตอนที่ 1(เข้าใจง่าย)
04-01-2013
»พระบรมครู คู่มือครู
16-01-2018
»อนุบุพพิกถา
04-01-2013
»ตักบาตรเทโวโรหนะ
04-01-2013
»คุณหมอผู้สนใจธรรมะ "ธรรมะคือลมหายใจ"
04-01-2013
»พระเจ้าพิมพิสาร
04-01-2013
»พระอานนท์
04-01-2013
»พระมหาโมคคัลลานะ
04-01-2013
»เรื่องเทวดา
04-01-2013
»ถือศีล ห้า ได้กุศลมากกว่าสร้างวิหารทาน จริงหรือ
04-01-2013
»เงื่อนไขการทำบุญให้ทาน
04-01-2013
»การทำบุญด้วยศรัทธา
04-01-2013
»บุญจากการอนุโมทนา
04-01-2013
»พระฉันนนะผู้ว่ายากสอนยาก
04-01-2013
»นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระพุทธเจ้า
04-01-2013
»เกิดใหม่กลัวบาป อุทาหรณ์ การทำบาป
04-01-2013
»พระภัททากัจจานาเถรี
04-01-2013
»นิทานธรรมบท เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก
04-01-2013
»เมื่อใด บาปให้ผล เมื่อนั้น คนพาล ย่อมประสบทุกข์
04-01-2013
»เมื่อพญานาคอยากเป็นมนุษย์
04-01-2013
»เหตุใดเทวดาจุติ(ตาย)แล้วจึงอยากเกิดเป็นมนุษย์
04-01-2013
»ผลของกรรม
04-01-2013
 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม


คุณครู.คอม ขอแสดงเจตนาว่าทุกข้อความใน เว็บไซต์นี้ให้คัดลอกได้
ไม่จำกัด เพื่อเป็นวิทยาทาน เพื่อการศึกษาเท่านั้น . .

email  [email protected]


kkwebv56   Copyright©2023 kunkroo.com
Development from SMEweb 1.5f By คุณครู.คอม